บทที่ 9 รายได้ประชาชาติ



รายได้ประชาชาติ

            ในปัจจุบันทุกประเทศในโลกต่างก็มีการศึกษาเกี่ยวกับตัวเลขรายได้ประชาชาติอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะรายได้ประชาชาติก็ คือ รายได้ประเทศนั้นเอง ตัวเลขที่เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติเป็นเครื่องมือตัวหลักและตัวแรกสำหรับแสดงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ชัดเจนกว่าตัวชี้วัดอื่น เพราะเป็นตัวเลขที่วัดได้และเก็บข้อมูลได้ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชาชาติจะช่วยให้เราทราบความเคลื่อนไหวในทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้นและสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและหาทางป้องกันปัญหารุนแรงต่าง ๆ รายได้ประชาชาติ โดยตั้งมาตรฐานการเก็บข้อมูลและวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวณไว้ให้เป็นแนวเดียวกัน เพื่อใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ด้วย

               ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำรายได้ประชาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2593 ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติของประเทศไทยคำนวณขึ้นโดยกองบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี

การวัดรายได้ประชาชาติในระดับต่าง ๆ
         โดยทั่วไป ถ้าเราดูสถิติเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ (ตั้งแต่มกราคม ถึงธันวาคม) ของแต่ล่ะปีเราจะเห็นได้ว่าการวัดรายได้ประชาชาติมีด้วยกันหลายระดับ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจ เราควรจะพิจารณา การวัดรายได้ประชาชาติในระดับต่าง ๆ นั่นมีความหมายอย่างไร
        ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Products = GDP)
                 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายเป็นตัวเงินและคิดตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศนั้น ในระยะเวลา 1 ปี โดยรวมมูลค่าของสินค้าและบริการที่ชาวต่างชาติผลิตได้ในประเทศเข้าไปด้วย
        ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Products = GNP)
                  ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติได้โดยพลเมืองของประเทศนั้นในระยะ 1 ปี คำจำกัดความของ GNP แตกต่างกับ GDP เพราะ GNP ถือเอามูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยพลเมืองของประเทศเท่านั้น



        ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Products = NNP)
                  ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายซึ่งคิดตามราคาตลาดที่พลเมืองของประเทศนั้นผลิตได้ในระยะเวลา 1 ปี  โดยหักค่าเสื่อมราคา (depreciation) ของทรัพยากรออกแล้ว NNP จะทำให้ทราบว่าในแต่ละปีนั้น ประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ เพิ่มขึ้นสุทธิเป็นจำนวนเท่าใด
                 ค่าเสื่อมราคา หมายถึง ค่าสึกหรอหรือการเสื่อมค่าของทรัพย์สินที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการรวมทั้งทรัพย์สินสูญหาย เช่น ถูกไฟไหม้ ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน (Capital Consumption Allowance = CCA)
                  เราสามารถแสดงสามสัมพันธ์ระหว่าง NNP และ GNP ได้ดังนี้    

                                                                                        
      รายได้ประชาชาติ  (National Income = NI)
            รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตได้ในระยะเวลา 1 ปี โดยหักค่าใช้จ่ายในการใช้ทุนและภาษีทางอ้อม (indirect tax) ออกแล้ว
            ภาษีทางอ้อม หมายถึง ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากองค์การธุรกิจ เช่น ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ซึ่งองค์การธุรกิจจะผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่งโดยการเพิ่มราคาสินค้าและบริการ ฉะนั้น เพื่อให้ได้ประชาชาติที่แท้จริง จึงต้องหักภาษีทางอ้อมออกจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ 
            ในทางตรงกันข้าม บ้างครั้งรัฐบาลก็จะมีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่หน่วยธุรกิจซึ่งทำให้รายได้ที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงนำรายการทั้งสองมาหักลบกันซึ่งจะเรียกว่า ภาษีทางอ้อมหักเงินอุดหนุน
             เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง NI NNP และ GNP ได้ดังนี้    


        
      รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income = PI)
            รายได้ส่วนบุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดในประเทศหักภาษีโดยรวมทั้งรายได้ที่เป็นผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต เช่น เงินโอนต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายได้ที่ตกถึงมือบุคคลจริง ๆ ส่วนรายได้ที่มิได้ถึงมือบุคคลไม่รวมเข้าไว้
           เงินโอนต่าง ๆ เป็นเงินโอนของรัฐบาลที่จ่ายให้กับผู้ได้รับความช่วยเหลือหรือบริจาคหรือการยกทรัพย์สินให้กัน
             รายได้ที่มิได้ตกถึงมือบุคคล เช่น กำไรที่ธุรกิจกันไว้เพื่อขยายกิจการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีที่เก็บจากกำไรขององค์การนิติบุคคล เป็นต้น
          เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง PI และ NI ได้ดังนี้

                     
         รายได้เฉลี่ยต่อคน (per capita income)
               รายได้เฉลี่ยต่อคน หมายถึง รายได้ถัวเฉลี่ยของบุคคลในประเทศ วิธีหารายได้เฉลี่ยต่อบุคคล สามารถคำนวณได้โดยเอาจำนวนประชากรทั้งประเทศไปหารรายได้ประชาชาติ ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้


                                                                                                                                       
การคำนวณรายได้ประชาชาติ
       เราทราบแล้วว่า การหมุนเวียนของเศรษฐกิจระหว่างฝ่ายครัวเรือนและฝ่ายผลิตจะเริ่มที่ฝ่ายครัวเรือนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุนและการประกอบการ นำปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไปให้ฝ่ายผลิตใช้ โดยฝ่ายครัวเรือนจะได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ยและกำไรตามลำดับ ฝ่ายผลิตเมื่อได้ปัจจัยมาแล้วก็จะนำไปผลิตเป็นสินค้าและบริการ แล้วขายต่อให้แก่ฝ่ายครัวเรือน ฝ่ายครัวเรือนก็จะต้องจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าและบริการ
          ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ประชาชาติ จึงกระทำได้ 3 วิธี คือ การคำนวณจากผลผลิต (product approach) การคำนวณจากรายได้ (income approach) และการคำนวณจากรายจ่าย (expenditure approach)
             การคำนวณจากผลผลิต (product approach) เป็นการหามูลค่ารวมของผลผลิตขั้นสุดท้าย (final products) ที่ผลิตในประเทศ ในระยะเวลา 1 ปี
          ผลผลิตขั้นสุดท้าย คือ ผลผลิตหลังจากผ่านขบวนการต่าง ๆ พร้อมที่จะนำไปบริโภคโดยตรง เช่น ข่าวสาร ส่วนข้าวเปลือกและข้าวสารที่อยู่ในโรงสี เป็นผลผลิตขั้นกลาง ๆ 
ความหมายของศัพท์บางรายได้ประชาชาติ
         ในหนังสือรายงานรายได้ประชาชาติจะพบว่ามีค าศัพท์ต่างๆ ที่ใช้กันทั่วโลกตามที่ องค์การสหประชาชาติก าหนดหลายค า ดังนั้นจึงควรเข้าใจความหมายของตัวเลขรายได้ ประชาชาติตามความหมายต่างๆ เหล่านี้ก่อน
ผลิตภณัฑมวลรวม์ในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)
          หมายถึงมูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการที่เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย (final product) ทุกประเภทที่ผลิตได้เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ในระยะเวลาที่ก าหนด (โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 1 ปี) ก่อนที่จะหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินอันเนื่องจากการผลิตสินค้า และบริการเหล่านั้นขึ้นมา โดยไม่นับรวมผลผลิตของผู้ที่ถือสัญชาติของประเทศนั้นไปท ามาหา ได้ในต่างประเทศ ค าว่าผลผลิตขั้นสุดท้ายหรือสินค้าขั้นสุดท้าย (final product) หมายถึงสินค้าที่ผู้ ซื้อ ซื้อไปใช้เอง โดยมิได้น าไปเพื่อใช้ผลิตต่อไปหรือซื้อไปขาย ซึ่งสินค้าที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อใช้ ผลิตต่อเรียกว่าสินค้าระหว่างผลิตหรือผลผลิตขั้นกลาง (intermediate product) และจากความหมายของ GDP แสดงว่าจะรวมมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตของประเทศนั้น โดยไม่ค านึงว่าผูผ้ลติหรอืปจัจยัการผลติ ที่ใช้จะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม นั่นคือ GDP จะถือเอาภูมิประเทศหรืออาณา เขตของประเทศเป็นเกณฑ์โดยไม่ค านึงถึงสัญชาติในต่างประเทศ เช่น GDP ของไทย จะเป็น ผลรวมของมูลค่าผลผลิตที่คนไทยและต่างชาติผลิตขึ้นภายในประเทศไทยภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่นับรวมผลผลิตที่คนไทยผลิตได้ในต่างประเทศ GDP มีประโยชน์ในการแสดงก าลังความสามารถในการผลิตของประเทศและท า ให้ทราบรายจ่ายทั้งหมดของผู้บริโภค นอกจากนี้ในระยะสั้น GDP จะท าให้ทราบสาเหตุของ ภาวะเงนิเฟ้อและอ่นื ๆ ในวฏัจักรธุรกิจได้ และ GDP สามารถใช้วัดความส าค้ญของอุตสาหกรรม ในแต่ละสาขา
ผลิตภณัฑมวลรวม์ประชาชาติ(Gross National Product: GNP)
          หมายถึงมูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตโดย ประชาชาติภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินอันเนื่องจากการผลิต สินค้าและบริการเหล่านั้นขึ้นมา ค าว่า “ประชาชาติ” หมายถึง บุคคลที่ถือสัญชาติของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะ อยู่ในประเทศหรือนอกประเทศ ดังนั้นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นโดยพลเมือง ของประเทศนั้นๆ พร้อมทั้งทรัพยากรที่เป็นของพลเมืองของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะอยู่ใน ประเทศหรือนอกประเทศ จะนับรวมเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GNP) นั่นคือจะถือ สัญชาติของทรัพยากรที่ใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นส าคัญ จากค าจ ากัดความจะเห็นได้ว่า GNP จะหมายถึง ผลรวมของมูลค่าของสินค้า และบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตโดยพลเมืองและทรัพยากรของประเทศนั้นๆ ภายในประเทศ และ รวมถึงผลผลิตที่พลเมืองของประเทศนั้นได้ก่อให้เกิดขึ้นในต่างประเทศด้วย โดยไม่นับรวม ผลผลิตของต่างชาติที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศนั้น นั่นคือ GNP จะเท่ากับ GDP บวกด้วยผลต่าง ของรายได้ที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยพลเมืองของประเทศนั้นในต่างประเเทศ กับรายได้ที่พลเมืองของ ประเทศอื่นหาได้ในประเทศ ผลต่างของรายได้ที่พลเมืองของประเทศนั้นก่อให้เกิดในต่างประเทศกับ รายได้ของพลเมืองของประเทศอื่นที่หาได้ในประเทศนั้นรวมเรียกว่า รายไดส้ ุทธขิองปจัจยัจาก ต่างประเทศ (net factor income payments from abroad) หรือรายได้สุทธิจากต่างประเทศ (net Income from abroad) ถ้าให้ F คือ รายไดส้ ุทธขิองปจัจยัจากต่างประเทศ (net factor income payments from abroad) ฉะนั้นจึงเขียนเป็นสมการได้ว่า GNP = GDP + (รายได้ที่พลเมืองของประเทศนั้นก่อให้เกิดขึ้นในต่างประเทศ – รายได้ที่พลเมืองของประเทศอื่นที่หาได้ในประเทศนั้น) GNP = GDP. + F
             ถ้ารายได้ที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยพลเมืองของประเทศนั้นในต่างประเทศมากกว่า รายได้ ของพลเมืองของประเทศอื่นที่หาได้ในประเทศนั้น นนั่ คอืรายไดสุ้ทธขิองปจัจยัจากต่างประเทศ (F) มีค่าเป็นบวกจะท าให้ค่าของ GNP มากกว่า GDP แต่ถ้ารายไดส้ ุทธขิองปจัจยัจาก ต่างประเทศ (F) มีค่าเป็นลบ จะท าให้ค่าของ GNP น้อยกว่า GDP ในระยะสั้น GNP ใช้วัดมูลค่าและความส าคัญของอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา และ ช่วยให้ทราบถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ