บทที่ 15 โครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยและแนวทางแก้ไข


โครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยและแนวทางแก้ไข


โครงสร้างทางเศรษฐกิจ หมายถึง ส่วนประกอบที่สำคัญทางเศรษฐกิจ แบบได้ 3 ส่วน ดังนี้
  1.โครงสร้างการผลิต คือ การผลิตสินค้าและบริการจำแนกตามโครงสร้างการผลิตโดยใช้บัญชีผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
2.โครงสร้างตลาดสินค้าและบริการ แบ่งได้ 2 ตลาด คือ ตลาดภายในประเทศ และตลาดภายนอกประเทศ
3.โครงสร้างของปัจจัยการผลิตและการจำแนกแจกจ่ายผลผลิต

สรุปผลของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงและสังคมได้ดังนี้

1.ผลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ

2.ผลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสินค้าเข้าและสินค้าออก

3.ผลที่มีต่อการจ้างงานและการอพยพแรงงาน

4.ผลที่มีต่อการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจไทย

5.ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ประชาชาติ

6.ผลที่มีต่อการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและความเจริญในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

7.ผลที่มีต่อการลดลงของคุณภาพการส่งออก

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ดังนี้

1.ปัญหาการขาดปัจจัยการผลิตและบริการขั้นพื้นฐาน

2.ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

3.ปัญหาการกระจายรายได้และความเจริญที่ยังไม่เป็นธรรม

4.ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและปัญหามลพิษ

5.ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราสูง

6.ปัญหาสถาบันการเงินขาดสภาพคล่องและปัญหาหนี้เสียในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

7.ปัญหาสังคมและอาชยากรรมต่างๆ

แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยเพื่อให้ตนในประเทศมีความสุขที่ยั่งยืน สามารถทำได้ ดังนี้

1.ทำข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2.ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชนทั้งในชนบทและในเมืองเข้มแข็ง

3.ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจหันมาพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบด้วยการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง

4.พัฒนาระบบสหกรณ์เป็นเศรษฐกิจอีกระบบหนึ่งควบคู่ไปกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

5.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

6.ปฏิรูปการเมือง

7.ปฏิรูปการศึกษา

โดยการใช้หลักการ “ทฤษฎีใหม่” มี 3 ขั้นตอน คือ

1)มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด และขจัดการใช่จ่าย

2)รวมพลังกันในรูปกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ และด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม และ

3)สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพ และขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายโดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข้อมูลข่าวสาร

ปัญหาเศรษฐกิจของไทยและแนวแก้ไข


ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกระบบตะกร้าเงินตราต่างประเทศ (Basket of currency) และหันไปใช้นโยบายการลอยตัวค่าเงิน (A money float) ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ได้ลดลงร้อยละ 15-20 และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขอภูมิภาคเอเชียทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอาเซียน (ค่าเงินของประเทศไทยจะแข็งกว่าหลายประเทศเมือมูลค่าของเงินประเทศไทยลดลง ทำให้จำนวนเงินของประเทศเพื่อบ้านในระบบแลกเปลี่ยนได้รับผลกระทบ)ก่อนที่ประเทศไทยจะประกาศลอยตัวค่าเงินในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทย ได้เปิดเสรีทางการเงินในปี 2536 ซึ่งในขณะนั้น ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Pegged exchange system) ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ใน อัตราสูงทำให้ดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ในเวลาต่อมาเงินบาทมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง (Overvalued) และที่สำคัญตะกร้าเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยประกอบด้วยเงินดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา สูงถึงร้อยละ 80 ส่งผลให้สภาพคล่องภายในประเทศมีสูงมาก ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้สูง (เกินความเป็นจริง) มีผู้กู้เอามาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวเอก คือ ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้านจัดสรร การเติบโต ของเศรษฐกิจอยู่ในลักษณะของการใช้จ่ายเงินจากทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมิได้เติบโตจากรายได้ การลงทุน ที่แท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ และเมื่อต่างชาติถอนเงินทุนกลับ เศรษฐกิจของประเทศไทย ก็ล้มลงอย่างหมดท่าและที่ปรากฏชัดมองเห็นได้คือ
* การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาล
ในปี 2538 – 2539 เทียบได้ร้อยละ 8 และ 7.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
อัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็วกล่าวคือ จากร้อยละ 23.6 ในปี 2536 เหลือเป็นร้อยละ 0 ในปี 2539
- เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ไทยต้องหันไปกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ (จะได้อธิบายภายหลัง)
หนี้ต่างประเทศจำนวนมหาศาล
- ประมาณการว่าหนี้ต่างประเทศ ในปี 2540 มีราว 99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
- หนี้ข้างต้นเป็นหนี้ภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นเปอร์เซ็นหนี้ภาคเอกชน 80 % ส่วนภาครัฐมี 20 %
จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสังเขปและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในขณะนั้น

   ก่อนที่เราจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ตามที่อาจารย์แต่งตั้ง) รัฐบาลในขณะนั้น ได้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งองค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญอีก 2 องค์กรคือ องค์กรการค้าโลก(WTO) ธนาคารโลก (IBRD) ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องดำเนินการตาม ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น
1. การจัดทำงบประมาณประจำปี ไม่เกินดุล (ทำขาดดุล) เพื่อเป็นการไม่ให้รัฐบาลผลิตธนบัตรมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อ
2. การจัดทำงบประมาณต้องจัดตามความสำคัญก่อน-หลัง โดยไม่มีอิทธิพลของการเมืองเข้าแทรกแซง (เป็นการลดบทบาทของรัฐในการกำหนดนโยบาย)
3. ปฏิรูปการเก็บภาษีอากรให้มากขึ้น เช่น ภาษีที่ดิน, มรดกและให้ลดภาษี สินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค
4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
5. ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
6. ยกเลิกระบบ Quota ภาษีศุลกากร ที่ใช้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะได้แข่งขันกับสินค้าภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนา
7. ให้ยกเลิกการกีดกันการลงทุนต่างประเทศ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
8. โอนกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์
9. ยกเลิกกฏหมายที่เป็นปฏิปักษ์กับการลงทุนจากต่างประเทศทุกประการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันอย่างเสรี
10.ปฏิรูปกฏหมายที่ถือครองที่ดินเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนพื้นฐานจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่แพ้ทุนขนาดใหญ่
จากเงื่อนไขในจดหมายแสดงเจตจำนงค์ของ IMF ที่ทำกับรัฐบาลที่ปกครองในขณะนั้น สถานการณ์ของประเทศยิ่งทรุดหนัก เพราะเงื่อนไขดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อทุนต่างชาติในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนอกจาก IMF ยังมีธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (WTO) ความเสียหายพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. การเปิดเสรี การยกเลิก Quota 
    ภาษีศุลกากร ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาได้ และเราไม่มีโอกาสที่จะไล่ตามเทคโนโลยีของประเทศเหล่านั้นได้
2. การปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
  ในเรื่องของดอกเบี้ยและค่าเงินเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ในแง่ของความเป็นจริง กลไกตลาดนั้น ประเทศมหาอำนาจสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดเพื่อให้ตนเองได้เปรียบ
3. ให้ยกเลิกการกีดกันทางการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จากผลของเงื่อนไขตรงนี้ทำให้กิจการการค้ารายเล็กรายน้อยของไทยต้องล้มเลิกกิจการไป เพราะสู้บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไม่ได้ ในรัฐบาลที่ผ่านมายังอนุมัติให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งสาขาในเมืองใหญ่เกิดขึ้นมากมาย
นอกจากสภาพที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพวิกฤติดังกล่าวในเรื่องของเพื่อการสร้างภาพ การโฆษณาต่าง ๆ ทำให้เกิดกระแสของการบริโภคของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาหาร แฟชั่น แนวคิดเพื่อสนองต่อการนำเข้าเสนอของทุนนิยมที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
จากการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ผลที่ตามมายังกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การว่างงานส่งผลต่อความเครียด
    ทำให้บางคนหันไปพึ่งสิ่งเสพติด การค้าสิ่งผิดกฏหมาย และบางคนยอมรับกับสภาพที่ฟองสบู่แตกไม่ได้ถึงขั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา
ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องออกจากสถานศึกษา
ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องออกจากสถานศึกษา
เนื่องจากไม่มีเงินจะส่งเสียเพราะผู้ปกครองว่างงาน
         จากที่กล่าวมาข้างต้นคือปัญหาของประเทศชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (อาจารย์แต่งตั้ง) แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการดำเนินการต่อไปนี้

สังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) นั้นจะประกอบไปด้วย รัฐชาติ (Nation State) องค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organization)องค์การและหน่วยงานของรัฐ(Governmental Organization) องค์กรที่เป็นสากลทั้งองค์การเฉพาะด้านเช่น ASEAN OPEC APEC EU WTO หรือองค์กรทั่วไป เช่น UN ซึ่งองค์กรต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาบทบาทในเวที สังคมชุมชนระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินนโยบายต่างๆของตนเอง แต่บทบาทของรัฐชาตินั้นถือได้ว่าสำคัญมากที่อาจจะก่อให้เกิดสันติภาพและสงครามได้มากกว่าองค์กรอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพราะรัฐในฐานะรัฐเอกราชการเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย(Final Arbiter) ในการที่จะนำรัฐเข้าสู่สงคราม หรือสร้างพันธมิตรกับรัฐอื่น อันนำซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) จะมีลักษณะเด่นๆอยู่หลายประการในการ เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐจะมีทั้งความร่วมมือ(Cooperation) ความประนีประนอม(Compromise) หรือความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งจะแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้
Œ  Ž
ความสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใดนั้นมีผลประโยชน์ของชาติ(Nation Interest) เป็นตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้ารัฐสองรัฐหรือหลายรัฐมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นไม่มีความขัดแย้งจะสามารถตกลงกันได้อย่างดี เช่น องค์การอาเซียน(ASEAN) มีการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นแม้บางครั้งจะมีการขัดแย้งกันบ้าง แต่ถ้าผลประโยชน์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็อาจถึงกับต้องเกิดสงครามก็ได้ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างบอสเนียกับเฮอร์เชโกวินนา หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับเชคชเนีย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดว่าจะมีความสัมพันธ์กันออกมาในรูปแบบใดความขัดแย้งหรือความร่วมมือ แต่ความขัดแย้งนั้นใน ในเวทีสังคมชุมชนระหว่างประเทศจะเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าความขัดแย้งกันไม่จำเป็นจะต้องก่อให้เกิดสงครามได้เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่ขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องใด ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการขัดแย้งในเรื่องการค้า(Trade conflict ) ก็อาจจะไม่ถึงกับต้องเกิดสงครามเช่น ไทยขัดแย้งกับสหรัฐอเมริการในเรื่อง ภาษีท่อเหล็ก ภาษียาสูบหรือกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือก่อกรณีที่จีนขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดแย้งในเรื่องการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งถ้าแก้ไขก็ตกลงกันได้ ด้วยวิธีการต่อรองประนีประนอมกัน(Compromise) แล้วก็จะสมารถอยู่ร่วมกันได้ (Co-existence) แล้วก็สามารถเกิดสันติภาพได้ สาเหตุของความขัดแย้งจะมาจากพื้นฐานของผลประโยชน์
นโยบายต่างประเทศ นั่นจะกำหนดและดำเนินในแง่มุมที่เป็นจริงและเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
คงจะไม่มีผู้นำของประเทศใดที่ก้าวขึ้นมาสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศในสังคมชุมชนระหว่างประเทศแล้วบอกว่าไม่ต้องการผลประโยชน์ ทุกประเทศต้องการผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักทั้งนั้น คำกล่าวที่สามารถยืนยันความหมายนี้ได้ก็เช่น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนที่หนึ่งของ สหรัฐอเมริการ นายอเล็กซานเดอร์ แฮมิงตัน รัฐมนตรีคลังคนแรกรวมทั้งนายเจมส์ เมดิสัน กล่าวว่า “อย่าเข้าใจผิดว่าการที่สหรัฐอเมริกาทำความดีเอื้อเฟื้อนั้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นนักบุญแต่การกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นการกระทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง” มาถึงตรงนี้เราจะต้องตระหนักว่าไม่มีรัฐใดในสังคมชุมชนระหว่างประเทศที่ต้องการให้ประเทศอื่นเจริญก้าวหน้าและรัฐของตนเองตกต่ำ
แนวทางแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน

*เศรษฐกิจภายในประเทศ
- การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมากระแสการพัฒนาของกระแสหลัก ทำให้แรงงานที่เป็นวัยหนุ่มสาว ทิ้งชุมชนทิ้งชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ นครหลวงเพื่อทำงานด้านแรงงาน ทำให้ชุมชนชนบทขาดการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ในภาคเกษตรในชุมชนได้รับผลกระทบน้อยมาก การส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งจึงเป็นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่จะทำให้ประเทศอยู่รอดได้ เช่น
- การทำเศรษฐกิจพอเพียง
- การทำเศรษฐกิจพอเพียง

เน้นที่การพอเพียงแก่การดำรงอยู่ บริหารจัดการการใช้พื้นที่ให้เกิดศักยภาพ ทั้งการปลูกข้าว การเลี้ยงปลา การปลูกพืชหมุนเวียน นอกจากนั้นส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม
- ส่งเสริมการออมของประชาชน กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง รัฐเข้าสนับสนุนให้คำแนะนำในเรื่องการลงทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นสภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจ
- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
เป็นการกระจายรายได้เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้าน ได้มีโอกาสนำเงินทุนไปประกอบอาชีพ นำเงินต้นและดอกผลในการจัดตั้งกองทุน โดยการบริหารจัดการของสมาชิกในหมู่บ้าน วิธีการนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีเพราะจะเป็นการยากที่จะนำเงินจำนวนมากมากระจายลงสู่ท้องถิ่นเพื่อหมู่บ้าน,ชุมชนเมือง หากดำเนินการได้ระยะหนึ่งจะทำให้ทุกส่วนของประเทศมีทุนสำรองจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ เมื่อเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งก็จะทำให้เศรษฐกิจในระดับประเทศมีความมั่นคงไปด้วย กองทุนฯจึงเป็นวิธีการที่มีความสำคัญที่จะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
- ธนาคารประชาชน เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสกู้เงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ซึ่งรัฐบาลทำร่วมกับธนาคารออมสิน ปัญหาที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากกู้ยืมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งถือเป็นเงินนอกระบบ ทำให้ตกเป็นทาสของเงินกู้เหล่านี้ ธนาคารประชาชนจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนที่จะให้ประชากู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนั้นยังมีการแนะนำส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ที่สนใจกู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพ รวมถึงการลดเงื่อนไขที่เป็นปัญหายุ่งยากที่จะทำให้การกู้ยืมเกิดความลำบาก
 การส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก* กลาง ย่อม (SME) ธุรกิจขนาดเล็ก ถือว่าเป็นทุนที่สำคัญของประเทศ เมื่อธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการต่อไปได้จะส่งผลดี ในเรื่องการจ้างงานทำให้คนมีงานทำ มีรายได้ มีกำลังซื้อ ทำให้ภาคการผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ และในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเพื่อเกิดการแข่งขัน ในฐานะผู้นำรัฐบาลจะเข้าส่งเสริมให้คำแนะนำการทำธุรกิจในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อธุรกิจเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้ รัฐบาลเองก็ได้รับผลคือสามารถเก็บภาษีของบุคคล, นิติบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งจะนำไปพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้น
- การเปิดบ่อนการพนันในเมืองใหญ่ การเปิดจะเปิดในลักษณะเป็นพื้นที่ ไม่เปิดเสรีโดยทั่วไป เพราะปัญหาการควบคุมการบริหารจัดการยังไม่พร้อมในหลายปัจจัย การเปิดบ่อนการพนันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในสภาพที่ประเทศมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ ประเทศต่าง ๆ มีบ่อนการพนันจำนวนมากและนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ เราต้องยอมรับกันว่าธุรกิจการพนันผิดกฏหมายในตลาดมืด แต่ละแห่งมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนกว่าล้านบาทเกือบ 1 ใน 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเรา การเปิดบ่อนที่ถูกต้องจะทำให้รัฐมีรายได้จำนวนมาก ลดปัญหาจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ รัฐเองก็สามารถนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (Marginal Group) ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการและทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็น ในกรณีดังกล่าวรวมถึงหวยใต้ดิน ซึ่งรัฐเป็นเจ้ามือเอง เมื่อรัฐเข้าบริหารจัดการทำการวินัยเพื่อพัฒนาเป็นบ่อนการพนันนานาชาติ
* ส่งเสริมโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมากคือมีความหลากหลายในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านฝีมือ ประกอบการต่าง ๆ ในท้องถิ่นชุมชน จากกระแสการพัฒนาแบบตะวันตก (Westernization) ทำให้เราทิ้งถิ่นฐานออกไปทำงานขายแรงงานทำให้ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีผู้สืบสาน เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้นทำให้เราต้องหันมามองชุมชน การพึ่งพาตะวันตกหรืออภิมหาอำนาจอเมริกาของภาคท้องถิ่นมีน้อย การกระทบก็น้อยเช่นกัน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สถาบันทางการเงินซึ่งมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบทุนนิยมต้องล้มละลาย เราควรเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาส ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านตำบลขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการส่งเสริมพัฒนาดังนี้
- ส่งเสริมการผลิต รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องเงินทุนเพื่อให้หมู่บ้าน, ตำบลมีทุนในการผลิต เช่น ประชาชนชาวอุบลในหมู่บ้านมีความสามารถทอผ้ากาบบัว ซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ในลักษณะลวดลาย ความประณีต สีสัน เฉพาะในจังหวัดเดียวใน 1 ผลิตภัณฑ์ยังเกิดความหลากหลาย นอกจากจะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการรื้อฟื้นนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นกลับมาใช้ทำให้มีการสืบสานของคนในท้องถิ่น
- การพัฒนาคุณภาพ เมื่อรัฐสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ชุมชนแล้ว ต้องพัฒนาด้านคุณภาพ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำออกจำหน่ายทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชน ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งมีวิธีการโดยการจัดประกวด 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ในระดับชุมชนเมื่อชนะเลิศก็นำเข้าสู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป เพื่อเป็นเกณฑ์ของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหน ลักษณะอย่างไรจะสามารถจำหน่ายได้ในขอบเขตกว้างขวางแค่ไหนว่าจะจำหน่ายในถิ่นหรือส่งไปจำหน่ายในต่างถิ่นได้
- ส่งเสริมด้านการตลาด ในระดับชุมชนระดับจังหวัดรัฐจัดสถานที่ในการนำสินค้า 1 ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพมาวางจำหน่ายเพราะถ้าชุมชนผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน การจัดทำตลาดนับว่าเป็นหัวใจ เพราะในบางครั้งผลิตภัณฑ์ของชุมชนผู้บริโภคมีความสนใจแต่ระยะทางไกลไม่สามารถไปซื้อได้ การทำตลาดจะทำให้หลายระดับ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายไปยังท้องถิ่น, ภูมิภาคขึ้นได้ เช่น
- จัดสถานที่จำหน่ายในระดับชุมชน ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปซื้อได้โดยตรงโดยไม่ต้องเข้าไปซื้อในพื้นที่ผลิตซึ่งอาจจะไม่สะดวก
- ในระดับจังหวัด จัดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในลักษณะศูนย์จำหน่ายทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป
- ระดับประเทศ จัดศูนย์จำหน่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกมีมาตรฐาน คุณภาพดีของชุมชนทั้งประเทศซึ่งสามารถสนองตอบต่อความต้องการของประเทศทั่วไป และหากผลิตภัณฑ์ของสิ่งใดมีลู่ทางมีคุณภาพทัดเทียมดีกว่าสินค้าของต่างประเทศก็พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งมีสินค้าประเภทนี้หลายรายการที่เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ซึ่งนำไปประยุกต์ทำเครื่องประดับต่าง ๆ ได้มากมาย
- ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Packing) การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ก็เป็นสิ่งจำเป็น การออกแบบให้เกิดความสวยงามก็มีความสำคัญในการที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ของอาหารการดูแลความสะอาดด้านสุขลักษณะ การดูแลด้านการถนอมอาหาร ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นลู่ทางในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
- การส่งเสริมการท่องเที่ย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมีครบทุกลักษณะของประเภทท่องเที่ยว มีศิลป ประเพณีวัฒนธรรมจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสามารถเที่ยวชมได้ทั้งปี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมีครบครัน ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ศาสนสถานที่สำคัญต่าง เช่น วัดพระแก้ว สิ่งที่จะทำให้ประเทศ ประชาชนมีรายได้นั้นต้องทำการจัดระเบียบการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวซึ่งมีวัตถุประสงค์
- เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวที่ไม่รับผิดชอบ ทั้งจากนักท่องเที่ยวเอง ผู้ประกอบการในสถานที่ท่องเที่ยว การเพิ่มศักยภาพเป็นการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวมีระเบียบ การเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยว เพื่อมาทำนุบำรุงให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่ทรุดโทรม
- ในด้านศิลปวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากต่างประเทศมีความต้องการที่จะพบเห็น ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นดั้งเดิมของไทยทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเก่า ๆ ขึ้น ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นเก่ามีผู้สืบทอด รัฐเองจะต้องเข้าส่งเสริม
- การอำนวยความสะดวก การสร้างถนนในเส้นทางหลักให้เกิดความสะดวกในการเดิน ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่สภาพใช้งานได้
* กิจการในการท่องเที่ยวถือว่าเป็นรายได้มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เราแทบไม่ได้ลงทุนอะไร เพียงแต่ต้องส่งเสริมเพิ่มศักยภาพให้กับสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นแรงดึงดูดในการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ๆ นอกจากการทำรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ธุรกิจการท่องเที่ยวยังครอบคลุมมีอิทธิพลต่อธุรกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมากขอยกตัวอย่างบางประการ
- ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ภาคบริการทำให้กิจการโรงแรมมีรายได้สูงขึ้น เช่น สงกรานต์เชียงใหม่ สถานที่พักเต็มหมด แห่เทียน จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ
- ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแง่ผลิตภัณฑ์ก็สามารถนำมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว
- ธุรกิจร้านอาหาร มีการขยายการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจสะพัดในท้องถิ่น ภูมิภาคซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
* การทำสุราเสรี คนไทยมีความสามารถในการทำเหล้าทั้งกระแช่ สาโท ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงสุราขาวที่นำไปกลั่น (ซึ่งชาวบ้านเรียกตาตั๊กแตน) รัฐควรส่งเสริมในส่วนสุราแช่ โดยการให้เน้นถึงความสะอาด ส่วนผสมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เราลดการนำเข้าสุราจากต่างประเทศ ซึ่งให้เสียเปรียบขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีจำหน่ายในท้องถิ่น
ความสามารถของคนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติใด ถ้าได้รับการพัฒนาแล้วสามารถส่งแข่งขันได้ทั่วโลก ไวน์แดงที่ทำจากลูกเม่า (ผลไม้พื้นเมืองของชาวอีสาน) ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ (ขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้) ส่งเข้าประกดที่กรุงบรัสเซล ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ทำให้ทั่วโลกรู้จักคนไทย ความสามารถของคนไทยสุราเหล่านี้จะนำรายได้มาสู่ชุมชนเพราะวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เป็นวัตถุที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งทำให้ต้นทุกนการผลิตมีราคาถูก การจำหน่ายมีราคา
ไม่แพง (20-30บาท) ส่วนหนึ่งทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น