บทที่ 10 การเงินและการธนาคาร


การเงินและการธนาคาร

      ความหมายและวิวฒั นาการของสงัคมทางการเงิน เนื่องจากบุคคลทุกคนไม่สามารถที่จะท าการผลิตทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อการบริโภคได้ ทั้งหมด จึงท าการผลิตในสิ่งที่ตนเองมีความถนัด แล้วน าผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคไป แลกเปลี่ยนสินค้าที่ตนเองต้องการ หรือน าผลผลิตไปขายแล้วน าเงินที่ได้จากการขายสินค้าไป ซื้อสิ่งของอื่น ๆ ลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า การแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนของสังคมแบ่งออกได้เป็น
1. สังคมที่ใช้ของต่อของหรือสินค้าต่อสินค้าในการแลกเปลี่ยน (Barter society)
2. สังคมที่ใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยน (Commodity society)
3. สังคมที่ใช้เงินในการแลกเปลี่ยน (Money society)
4. สังคมที่ใช้เครดิตในการแลกเปลี่ยน (Credit society)

สังคมที่ใช้ของต่อของหรือสินค้าต่อสินค้าในการแลกเปลี่ยน (Barter society)
           สังคมที่แลกเปลี่ยนของต่อของ(Barter society) หรือสังคมที่ไม่ใช่เงินตรา (non-monetary society) จะท าการค้าโดยการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าโดยตรง เรียกระบบ การแลกเปลี่ยนดังกล่าวว่า ระบบแลกของต่อของ (barter system) เช่น ชาวนาคนหนึ่งต้องการ ได้ควาย 1 ตัว มาไถนา จึงนาสุกร 2 ตัว ไปแลกเปลี่ยน ชาวนาจะต้องเสาะหาผู้ที่มีควายและ ต้องการสุกร จึงจะท าให้มีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น จะเหน็ ไดว้่าการคา้ในสงัคมแบบน้ีมปีญั หา มากเพราะ
(1)    การค้าจะเกดิ ขน้ึเม่อืต่างฝ่ายต่างก็มสีนิ ค้าท่เีป็นท่ตี้องการของอกี ฝ่าย หนึ่งตามปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ต้องการ
(2)    สินค้าจะต้องสามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ดังนั้น สิ่งของที่ไม่ สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ก็จะไม่เกิดการแลกเปลี่ยน เช่น สุกร 2 ตัว แลกกับควาย 1 ตัว จะแบ่งควาย 2 1 ตัว ไปแลกกับสุกร 1 ตัว ไม่ได้
(3)    ปญั หาความยุ่งยากในการก าหนดอตัราแลกเปล่ยีนทงั้น้ีถ้าสนิ ค้ามอียู่ 1,000 ชนิด ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งจะมีราคาแตกต่างกันได้ถึง 999 ราคา ไม่สามารถก าหนดออกมาเป็นราคาต่อหนึ่งหน่วยที่แน่นอนได้จึงเป็นการยากที่จะก าหนดอัตราแลกเปลี่ยนอย่าง ถูกต้องเหมาะสมตามปริมาณและคุณภาพของสินค้า
(4)    มีความยุ่งยากในการก าหนดระดับความมั่งคั่ง หรือ อ านาจซื้อ (wealth or purchasing power) เพราะของบางอย่างเก็บไว้ได้ไม่นานอาจเน่าเสียได้เช่น ชาวสวนส้ม จะต้องน าส้มไปแลกสินค้าอื่นให้หมดในฤดูกาลที่สัมออก ถ้าไปแลกกับสินค้าอื่นได้ไม่หมดก็ไม่ สามารถเก็บส้มไว้ได้ท าให้ความมั่งคั่งหรืออ านาจซื้อในอนาคตลดลง
(5)    สังคมที่แลกเปลี่ยนของต่อของท าให้การค้าขยายตัวช้า

สงัคมที่ใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยน (Commodity society)
        เนื่องจากการแลกเปลี่ยนของต่อของมปีญั หาและไม่สะดวกหลายประการ จึงท าให้มีความจ าเป็นต้องมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นสิ่งของหรือสินค้าบางอย่างที่เป็น ที่ต้องการของสังคมเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ในสังคมที่ห่างไกลจากทะเล มีการใช้เกลือเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และในบางสังคมใช้ขนสัตว์ เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนจะเป็นสิ่งที่บุคคลในสังคมนั้น ๆ ยอมรับ กล่าวคือจะมีการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เกลือ หรือขนสัตว์และถ้าต้องการได้สิ่งของ อื่น ๆ ก็จะน าเอาเกลือหรือขนสัตว์ไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ต้องการต่อไป สังคมแบบนี้ถึงแม้ จะแก้ปญั หาบางอย่างของสงัคมทแ่ีลกของต่อของไดบ้ า้ง แต่ก็ยังไม่สะดวกต่อการน าติดตัวไป ยังที่ต่าง ๆ และค่าก็ไม่คงที่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณของสินค้าหรือสิ่งของที่ใช้เป็นสื่อการ แลกเปลี่ยน

สังคมที่ใช้เงินในการแลกเปลี่ยน (Money society)
         เน่ืองจากปญั หาและความไม่สะดวกของสงัคมแลกของต่อของ และสังคม ที่ใช้สิ่งของเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนดังกล่าวข้างต้น การแลกเปลี่ยนจึงวิวัฒนาการมาจนใช้เงิน (money) เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน โดยมีวิวัฒนาการมาเป็นเงินที่ท าด้วยโลหะ จนกระทั่งถึงมี การใช้เงินกระดาษ ดังนั้น เงินอาจจะเป็นอะไรก็ได้แต่สิ่งนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของสังคมว่า สิ่งนั้นเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน

สงัคมที่ใช้เครดิตในการแลกเปลี่ยน (Credit society)
         สังคมที่ใช้เครดิตในการแลกเปลี่ยนนี้เป็นสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ระบบ ธนาคารมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ ประชาชนของสังคมนี้จะไม่ถือเงินสดไว้กับตัว แต่จะ น าไปฝากธนาคารแล้วธนาคารให้เครดิตมาหรือให้เช็คมา การจับจ่ายใช้สอยจะใช้เช็คแทนเงิน สดซึ่งมีความคล่องตัวมากกว่าการใช้เงินในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มาก ๆ ยังมีการโอนเงินกันทางโทรศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ซึ่งในอนาคตอาจจะนับรวมอยู่ในประเภท ของเงินก็เป็นได้ จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จึงอาจให้ค าจ ากัดความของเงินได้ว่า เงิน คืออะไรก็ได้แต่ต้องเป้นสงิ่ ทส่ีงัคมยอมรบัและใชเ้ป็นส่อืกลางในการ แลกเปลี่ยนและยอมรับในการช าระหนี

คณุสมบตัิของเงิน สิ่งที่ใช้เป็นเงินจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

1. เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (acceptability) 
            คือสิ่งที่ใช้เป็นเงินจะต้องเป็นที่ ยอมรับว่าสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการได้และเป็นที่ยอมรับในการรช าระหนี้ ดังนั้นเงินจะไม่ มีค่าเลยถ้าสังคมนั้นไม่ยอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นเงิน นั่นคือเงินไม่ได้มีค่าโดยตัวของมันเอง แต่เงินมี ค่าเนื่องจากสังคมยอมรับ 
2. มีความคงทน (durability) 
            นั่นคือสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เปื่อยหรือเสียหายได้ง่าย 
3. เป็นสิ่งที่หายาก (scarcity) 
           เมื่อเงินเป็นสิ่งของหายากจะท าให้มีค่าสูง จึงเป็นสิ่งที่ มีค่าโดยตัวมันเองจึงเหมาะที่จะใช้เป็นเงิน และจะต้องยากต่อการปลอมแปลงทั้งนี้พราะถ้าของ นั้นหาได้ง่ายก็จะง่ายต่อการปลอมแปลง
4. เป็นสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกัน (homogeneity) 
           ลักษณะรูปร่าง น ้าหนักของเงินที่มี ค่าเท่ากันจะต้องเหมือนกัน เพื่อที่เมื่อมองเห็นแล้วจ าได้และสามารถชี้ให้ได้ว่าเป็นเงินดีหรือ เงินปลอม
5. มีเสถียรภาพในค่า (stability) 
           คือ อัตราแลกเปลี่ยนต้องไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย จนเกินไป
6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้(divisibility)
           เมื่อแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ แล้ว จะต้องมีลักษณะเหมือนกันทั้งรูปร่าง น ้าหนัก และคุณภาพ
7. มีความสะดวกสบายที่จะน าไปยังที่ต่างๆ (portability)
           นั่นคือ เงินควรจะท าจากวัสดุ ที่มีน ้าหนักเบา สามารถที่จะน าติดตัวไปได้โดยสะดวกหน้าที่ของเงิน (Function of Money) หน้าที่ของเงินแบ่งออกได้ 2 ประการคือ หน้าที่อันมีสภาพนิ่งและหน้าที่อันมีสภาพ เคลื่อนไหว
 หน้าที่อนัมีสภาพนิ่ง (Static Function) หมายถึงการที่เงินท าหน้าที่ช่วยในการดาเนินงานของระบบเศรษฐกิจให้ เป็นไปได้ด้วยดี 4 ประการ คือ
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)
2. เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดมูลค่า (Standard of Value)
3. เป็นมาตรฐานช าระหนี้ภายหน้า (Standard of Deferred Payments)
4. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of Value)
1. เงินเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)
     กล่าวคือเมื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นเงินแล้วน าเงินไปซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ ได้ในลักษณะเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน        
2. เป็นมาตรฐานที่ใช้วดัมลู ค่า(Standard of Value)
     ในระบบแลกเปลี่ยนของต่อของ มูลค่าของสินค้าหรืออัตราการ แลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับบุคคลที่ท า การแลกเปลี่ยนสินค้ากันตามความพอใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการ ถกเถียงกันได้เมื่อเงินท าหน้าที่เป็นมาตรฐานในการเทียบค่าจะท าให้เกิดความสะดวกในการ วัดมูลค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ไม่เหมือนกันให้เทียบค่าเป็นหน่วยของเงิน โดยราคาสินค้าจะ ก าหนดเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้า ซึ่งท าให้ผู้ซื้อและผู้ขายพอใจ นอกจากนี้ยัง เป็นประโยชน์ในทางบัญชีเพราะสามารถรวมมูลค่าของสิ่งของต่างๆ เข้าด้วยกันได้เนื่องจากมี หน่วยออกมาเป็นเงินตราเดียวกัน
 3. เงินเป็ นมาตรฐานในการชา ระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payments)
      การใช้เงินท าให้สามารถเลื่อนเวลาช าระหนี้ไปได้ในอนาคตท าให้มีการ ซื้อขายเงินเชื่อเกิดขึ้นการช าระหนี้ในภายหน้าต้องช าระเท่ากับเงินที่กู้ยืมมาบวกด้วยอัตรา ดอกเบี้ย ซึ่งถ้าอยู่ในระบบแลกของต่อของ ถ้าสิ่งที่ยืมเป็นสิ่งของ เช่น ตกลงยืมควายไปไถนา แล้วจะส่งคืน พร้อมข้าวอีก 10 ถัง เมื่อน าควายไปคืนพร้อมข้าวอีก 10 ถัง ก็อาจเกิดข้อ ถกเถียงว่าตอนที่ยืมไปควายอ้วนกว่านี้ฉะนั้นต้องเอาข้าวมาให้เพิ่มขึ้นเป็น 20 ถัง ก็จะเกิดข้อ ถกเถียงกันได้เมื่อมีการใช้เงินท าให้มีความสะดวกในการช าระหนี้ในภายหน้า
          4. เงินเป็ นเครื่องสะสมมลู ค่า(Store of Value)
           เงินท าหน้าที่สะสมมูลค่าได้ดีกว่าการสะสมเป็นสินค้า ซึ่งอาจเก็บไว้ไม่ได้ นานเนื่องจากเน่าเสียได้ดังนั้นเงินจะสามารถสะสมไปใช้ในโอกาสหน้า

   ปริมาณเงิน (Money Supply)
            ปริมาณเงินมีความหมาย 2 ประการคือ
1. ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ (narrow money)
2. ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง (broad money)

ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ (narrow money) 
        ปริมาณเงินประเภทนี้หมายถึง เหรียญกษาปณ์ธนบัตร และเงินฝากกระแส รายวัน (Demand Deposit) ปริมาณเงินประเภทนี้จะใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ และ เป็นปริมาณเงินที่ใช้วัดอ านาจซื้อของประชาชน เหตุที่เงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposit) ซึ่งจ่ายโอนกันด้วยเช็คเป็นเงินอย่างหนึ่งเพราะมีอ านาจซื้อเช่นเดียวกับธนบัตรและ เหรียญฐกษาปณ์ เมื่อต้องการใช้เงินก็สามารถเซ็นต์เช็คสั่งจ่ายได้ทันทีและธนาคารจะจ่ายเงิน ให้เมื่อถูกทวงถาม ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าปริมาณเงินประเภทนี้จะเป็นปริมาณเงินที่ใช้หมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นปริมาณเงิน จึงหมายถึงปริมาณเงินในท้องตลาดซึ่งอยู่ในมือของ ประชาชน และหน่วยธุรกิจต่างๆ ส่วนปริมาณเงินที่อยู่ในมือของรัฐบาลและอยู่ในระบบธนาคาร โดยทั่วไปจะไม่ถือว่าเป็นปริมาณเงินในท้องตลาด ทั้งนี้เพราะว่าเงินเหล่านี้ในขณะนั้นมิได้น า ออกมาใช้หมุนเวียนในท้องตลาด

ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง (broad money) 
         ปริมาณเงินประเภทนี้จะเท่ากับ ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบบวก ด้วย เงินฝากประจ า (Time Deposits) ตั๋วเงินระยะสั้น หุ้นกู้พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรอื่น ๆ ฯลฯ โดยถือว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่คล้ายเงิน (near money) ทั้งนี้เพราะสามารถ เปลี่ยนเป็นเงินได้ง่าย ดังนั้นปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง จึงประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประจ า เงินฝากออมททรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ และสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินอื่น ๆ