บทที่ 12 วัฎจักรเศรษฐกิจ



วัฎจักรเศรษฐกิจ 

       วัฏจักรเศรษฐกิจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ซ้ำ ๆ กันของเศรษฐกิจ ซึ่งมี 4 ระยะ คือ ระยะรุ่งเรือง ระยะถดถอย ระยะตกต่ำ และระยะฟื้นตัว ในแต่ละระยะมีเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ในแต่ละระยะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเท่ากันเสมอไป และอาจใช้เวลาในแต่ละช่วงอยู่ระหว่าง 2 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในภาวะเศรษฐกิจ

สาเหตุการเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ เกิดจากสาเหตุภายนอกระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุภายในระบบเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจได้ แต่เมื่อเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะที่ไม่พึงปรารถนาแล้ว ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้
ภาวะในวัฏจักรเศรษฐกิจ
  1. Expansion (ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว): เป็นช่วงที่การผลิต อัตราการจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย ความต้องการสินเชื่อ และ ความเชื่อมั่นเริ่มเพิ่มขึ้น รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น



2. Boom (ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง): อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นสูง การผลิตและความเชื่อมั่นทรงตัว เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ มีความขาดแคลนทั้งแรงงานและวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
3. Recession (ภาวะเศรษฐกิจถดถอย): ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาลง เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การจ้างงาน และ ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง ธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน
4. Depression (ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ): เป็นจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย ความต้องการสินเชื่อ และ ความเชื่อมั่นตกต่ำ นโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มการผลิตเริ่มเข้ามามีบทบาทและวนกลับไปสู่ระยะถัดไปของวัฎจักร

การวัดวัฏจักรเศรษฐกิจ
การวัดวัฏจักรเศรษฐกิจ มีประโยชน์ในการพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า เพื่อใช้วางแผนการบริหารประเทศ
วิธีการที่นิยมได้แก่การนำตัวแปรทางเศรษฐกิจที่คิดว่าสำคัญมาจัดทำในรูปของดัชนี(Index) เช่น
§ ดัชนีตัวแปรชี้ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า หรือเรียกว่า ดัชนีตัวแปรนำ (leading indicator)

เช่น การซื้อบ้าน(new housing) การเกิดขึ้นและล่มสลายของธุรกิจ ราคาวัตถุดิบ(raw material price)

§ ตัวแปรชี้ภาวะเศรษฐกิจตามหลัง หรือดัชนีตัวแปรตาม (lagging indicator)

เช่น อัตราการว่างงาน กำไรของกิจการ (Business profit) หนี้ของธุรกิจ(Business loan) ความสามารถในการซื้อเทียบกับเงินเฟ้อของผู้บริโภค(Consumer price index)

§ ดัชนีตัวแปรภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (coincident indicator)

เช่น GDP อัตราดอกเบี้ย การซื้อสินค้าปลีก(retail sales) ราคาหุ้น(stock price)



ราคาหุ้น 



GDP ทั่วโลก 

สาเหตุที่ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ

§ พิจารณาจากอุปสงค์รวม

§ เกิดจากปัจจัยด้านอุปสงค์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิด AD Shock

§ AD Shock จะทำให้อุปทานรวม (SRAS) เปลี่ยนแปลง

§ การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างช้าๆ มีผลทำให้เศรษฐกิจแก่วงไกว กลายเป็น วัฏจักรเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยภายใน (Endogenous Theories)


§ ทฤษฎีนวัตกรรม (Innovation Theories) - การค้นพบนวัตกรรมใหม่ และความล้าสมัยของนวัตกรรมเก่า ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของการลงทุน

§ ทฤษฏีด้านจิตวิทยา (Psychological Theory) - เมื่อนักลงทุกมองโลกในแง่ดี ก็จะเกิดการลงทุน เมื่อนักลงทุนเริ่มมองโลกในแง่ร้าย ก็เริ่มลดการลงทุน

§ ทฤษฎีปริมาณเงิน (Monetary Theory) - การลดหรือเพิ่มปริมาณเงิน ซึ่งเป็นนโยบายการคลังของรัฐ ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ

§ ทฤษฎีวงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Theory) - ในระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว สินค้าคงคลังจะลดลงเรื่อย ทำให้ต้องเพิ่มการลงทุนเพื่อเร่งการผลิตมากขึ้น แต่เมื่อผลิตมากเกิน ก็ต้องลดการลงทุน

§ ทฤษฎีการใช้จ่ายบริโภคต่ำเกินไป (Under-consumption Theory) เมื่อการบริโภคต่ำเกินไป สินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะล้นตลาด

การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก(Exogenous Theories)
§ ทฤษฎีจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sub-spot Theory) - จุดดับบนดวงอาทิตย์ทำให้เกิดพายุสุริยะ ซึ่งทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลต่อเกษตรกรรม
§ ผลกระทบที่ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจจากปัจจัยภายนอก - เช่น สงคราม มีทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่า ก่อนเกิดสงครามเศรษฐกิจจะดี เพราะกองทัพต้องเตรียมเสบียงผลผลิตต่างๆ และหลังสงครามจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ทฤษฎีนี้ไม่เป็นจริงหลังสงครามโลกครั้งที่2