บทที่ 4 การบริโภค



การบริโภค

     การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ การบริโภคไม่ได้หมายความถึงการรับประทานอาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจแต่เพียงอย่างเดียว การใช้สินค้าอื่นๆ และการใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือการบริโภคด้วยเช่นกัน เช่น การไปพบแพทย์เมื่อยามเจ็บป่วย การพักโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การประกันภัย เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การกระทำทั้งหลายอันทำให้สินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งสิ้นเปลืองไปเพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ถือเป็นการบริโภคทั้งสิ้น

แบ่งตามลักษณะของสินค้าสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน (nondurable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วสิ่งของชนิดนั้นจะสิ้นเปลืองหรือใช้หมดไป การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า destruction เช่น การบริโภคน้ำ อาหาร ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ
2. การบริโภคสินค้าคงทน (durable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของอย่างใด อย่างหนึ่งโดยสิ่งของนั้นยังคงใช้ได้อีก การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า diminution เช่น การอาศัยบ้านเรือน การใช้รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าคงทนเหล่านี้จะใช้แล้วไม่หมดไปในทีเดียว แต่ก็จะค่อยๆสึกหรอไป จนในที่สุดจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ปัจจัยที่ใช้กำหนดการบริโภค
หลักในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการใดๆต้องคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคจะได้รับความพึงพอ ใจ ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่
1. ความประหยัด คือซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนใช้ไม่หมดหรือเหลือทิ้ง และเป็น สินค้าที่จำเป็นต้องใช้ไม่ควรซื้อตามกระแสนิยม
2. ประโยชน์ คือ สินค้าหรือบริการนั้นซื้อมาแล้วให้ประโยชน์ ความสะดวกสบาย คุ้มค่า เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3. ราคายุติธรรม เป็นสินค้าหรือบริการที่มีราคาไม่แพงจนเกินไปผู้ผลิตไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ในด้านราคา
4. คุณภาพ ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานในปัจจุบันสินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นตลาด ของผู้บริโภค หมายถึง ผู้บริโภค ที่มีสิทธิ์เลือก ซื้อได้ตามราคาและคุณภาพได้ตามที่ตนพอใจ
5. ความปลอดภัย สินค้าหรือบริการนั้นๆ ต้องไม่เป็นอันตายแก่ผู้บริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูปอาหาร กระป๋อง ต้องไม่มีสารเคมี หรือหมดอายุเสื่อคุณภาพแล้ว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภค

1. อาหารที่มีในท้องถิ่น หากท้องถิ่นใดมีอาหารบริบูรณ์ คนในท้องถิ่นนั้นย่อมมีโอกาสจะได้
บริโภคอาหารที่มีคุณค่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ท้องถิ่นใดขาดแคลนอาหาร คนในท้องถิ่นก็จำเป็นต้องกินอย่างจำกัด
2. ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ละครอบครัวจะสามารถซื้ออาหารที่มีขายในท้องตลาดมารับประทานได้มากน้อยเพียงไร และซื้ออาหารจำพวกใดบ้างนั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัว
3. ความเคยชินในการรับประทานของครอบครัว การรับประทานของแต่ละครอบครัวนั้นบางคราวมีเหตุผลเบื้องหลังที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา และขนบธรรมเนียมประจำชาติ หรือความเชื่อของ
ครอบครัวนั้น ๆ รวมทั้งนิสัยที่สืบเนื่องกันมาหลายชั่วคน
4. ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. ภาวะทางอารมณ์และจิตใจ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสุขหรือทุกข์ หรือวุ่นวายใจ ความ
ชอบหรือไม่ชอบในอาหาร
6. ปฏิกิริยาต่อกลิ่นและรสอาหาร บุคคลแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อกลิ่นและรสของอาหารไม่
เหมือนกัน
7. อิทธิพลของการศึกษา ความรู้เรื่องคุณค่าของอาหาร อาจเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจ
เลือกซื้อ การที่บุคคลนิยมรับประทานอาหาร เพราะรู้คุณค่าของอาหารนั้น แสดงให้เห็นความสำคัญของการให้ความรู้ทางโภชนาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กอันเป็นวัยที่นิสัยในการรับประทานกำลังจะเกิดขึ้น

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

   ผู้บริโภค คือ บุคคลที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการหรือความจำเป็ของตนเองตลอดจนบุคคลในครัวเรือน
ลักษณะของผู้บริโภค
1.เป็นบุคคลที่มีความต้องการ
2.เป็นผู้มีอำนาจซื้อ
3.มีพฤติกรรมในการซื้อ
4.มีพฤติกรรมการใช้


ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการบริโภค

โดยปกติแล้วการบริโภคของคนเราทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพของสินค้าและบริการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1.รายได้ของผู้บริโภค
       ในที่นี้หมายถึง รายได้สุทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นรายได้เมื่อหักภาษีออกแล้วรายได้ของผู้บริโภคนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดการใช้จ่ายสำหรับการบริภค ตามปกติ ถ้าเรามีรายได้น้อยก็จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการมาบริโภคได้น้อย เมื่อมีรายได้เพิ่มขั้นเราก็ใช้จ่ายเงินเพิ่อการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย แต่จะเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีเงินออมมากกว่าเดิม

2.นิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค
      คนเรามีนิสัยการใช้เงินแตกต่างกัน คนที่มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย พอใจหรืออยากได้สิ่งใดก็รีบซื้อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงความจำเป็นและรายได้ของตนเอง และเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้คนประเภทนี้จะมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในอานาคต

3.ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค รายได้ การออมและการลงทุน
     เราได้ทราบกันแล้วว่า การบริโภคของคนเรามีความสัมพันธ์กับรายได้โดยตรง ถ้ามีรายได้มากก็สามารถใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้ามาบริโภคได้มาก ตุถ้ามีรายได้น้อยก็สามารถบริโภคได้น้อย อย่างไรก็ตาม ประชาชนโดยทั่วๆไป มักจะไม่บริโภคเกินรายได้ที่เขามีอยู่ เขาจะออมเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อใช้จ่ายเมื่อถึงคราวจำเป็นในอนาคตโดยอาจจะนำเงินไปให้ผู้อื่นกู้ยืมหรือฝากธนาคารเพื่อได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย หรือนำไปลงทุนดำเนินธุรกิจด้วยตนเองในวันข้างหน้า ดังนั้น เงินที่ออมไว้ก็จะกลายเป็นเงินทุน

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (Corruption Expedition / C)
1.สินค้าประเภทถาวร (Durable goods) ได้แก่ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์
2.สินค้าประเภทไม่ถาวร (Nondurable goods) ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ในการบริโภคสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภค อาหาร
3.บริการ (Services) ได้แก่ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการต่าง ๆ เช่น การชมภาพยนต์ ดังนั้น C (เพิ่มขึ้น) > AD(เพิ่มขึ้น) > I (เพิ่มขึ้น) > จ้างงาน (เพิ่มขึ้น) > Y (เพิ่มขึ้น)

ปัจจัยที่กำหนดการบริโภคมวลรวมและการออมมวลรวม
1.รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable Income / DI / Yd)
    Yd (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) และ S (เพิ่มขึ้น) Yd (ลดลง) > C (ลดลง) และ S (ลดลง)
2 .การเปลี่ยนแปลงในอัตราภาษี (t)
    Dt (เพิ่มขึ้น) > Yd(เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) และ S (เพิ่มขึ้น) Dt (ลดลง) > Yd (ลดลง) > C (ลดลง) และ S (ลดลง)
3.อุปนิสัยของผู้บริโภค (h) 
นิสัยเป็นคนมัธยัสถ์ > C (ลดลง) นิสัยเป็นคนใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย > C (เพิ่มขึ้น)
4.ภาวะแวดล้อมทางสังคม (So) สังคมใดเลียนแบบการบริโภคสูง > C (เพิ่มขึ้น)

สังคมใดรู้สึกว่าการประหยัดมัธยัสถ์เป็นสิ่งที่ดี

                   
S (เพิ่มขึ้น) 

C (ลดลง)

5.การคาดคะเนของผู้บริโภค (e)

Y e (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) ปัจจุบัน และ S (ลดลง) 
  P e (ลดลง) > C (ลดลง) ปัจจุบัน และ S (เพิ่มขึ้น)    

6. สินทรัพย์ของผู้บริโภค (A) ) ปัจจุบัน และ S (ลดลง)

Asset มีสภาพคล่องมาก > ฐานะการเงินมั่นคง > C (เพิ่มขึ้น) และ S (ลดลง) 
Asset มีสภาพคล่องน้อย > เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ยาก > C (ลดลง) 
*** Asset มีสภาพคล่องมาก ได้แก่ ใบหุ้น, เงินสด, เงินฝากประจำ ***

สินค้าคงทนถาวร (Fixed Asset : FA) เช่น รถยนต์, ทีวี เป็นต้น 
- อาจซื้อ FA (ลดลง) ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากมีใช้อยู่แล้ว 
- อาจซื้อ FA สินค้าและบริการที่ใช้ทดแทนกัน (Substitute goods) 
ลดลงก็ได้ เช่น การซื้อ T.V / การชมภาพยนต์ 
- อาจจำให้รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ที่ใช้ประกอบกัน 
เพิ่มขึ้น เช่น การซื้อรถยนต์ > น้ำมัน (เพิ่มขึ้น) ค้าอัดฉีด 
(เพิ่มขึ้น) ค่าซ่อมแซม (เพิ่มขึ้น) แต่ทำให้ S (ลดลง)

7 สินเชื่อเพื่อการบริโภคและอัตราดอกเบี้ย (cr, I)
# ผ่อนต่ำ ดาวน์ต่ำ และ i ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) Q เป็นการเพิ่มอำนาจ 
ซื้อ แก่ผู้มีรายได้ต่ำ 
# i (กู้) ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) ; i (ฝาก) สูง > C (ลดลง) 
i (กู้) สูง > C (ลดลง) ; i (ฝาก) ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) 

8.การกระจายรายได้ในสังคม (d ) 
d ทั่วหน้าทุกคน > C (เพิ่มขึ้น)

9 จำนวนประชากรและโครงสร้างอายุของประชากร (Pop)
Pop (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) 
ถ้า Pop วัยเรียน (เพิ่มขึ้น) > C เครื่องเขียนชุดนักเรียน (เพิ่มขึ้น) และ S (ลดลง) 
อุปนิสัย ของ Pop ก็ต่างกันเช่น คนกลางคนนิยมออม คนแก่ และเด็ก ชอบมีนิสัย 
ในการใช้จ่าย 
\ ถ้าประเทศไหนมีคนกลางคนมาก > S (เพิ่มขึ้น) และ C (ลดลง) ดังนั้น สรุป C = f (Yd , t, h, So, e, A, Cr, I, d, Pop…)


ฟังก์ชั่นการบริโภค (Consumption Function)

C = a + bY 
C = f (Yd) 
เราใช้คำว่า ฟังก์ชัน (function) เพราะว่าการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคผันแปรไปตามระดับรายได้หลังจากหักภาษีแล้ว แสดงว่าเมื่อ C (ลดลง)

Yd (เพิ่ม) ® C (เพิ่ม) ; Yd (ลด) ®C (ลด)


C = ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค
a = การใช้จ่ายบริโภคขณะที่รายได้เท่ากับศูนย์ เป็นอัตโนมัติ ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ (มนุษย์เกิดความต้องการบริโภค แม้ขณะยังมิได้มี Y หรือ S = 0)
b = ความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายอุปโภค บริโภค เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย 
(Marginal Propensity to Consume / MPC)


Y =รายได้ประชาชาติ (National Income)


ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค และความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค

1 ความโน้มเอียงเฉลี่ยที่จะใช้จ่ายอุปโภคบริโภค
            (Average Propensity to Consume / APC) หมายถึง แนวโน้มที่ประชาชนจะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจากเงินได้ที่มีอยู่ ในแต่ละระดับ 

  APC = C
Yd

2 ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume / MPC)
        หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับการใช้จ่ายบริโภค เมื่อคนเรามีรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วยแล้ว การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค บริโภค จะเปลี่ยนแปลงสักเท่าใด ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายในการบริโภคกับการเปลี่ยนแปลงของรายได้
                     
                                
เนื่องจาก MPC = b = slope ของเส้นการบริโภค

ดังนั้น b ก็คือ ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภคด้วย

** การออม (The Saving)**
เนื่องจาก การออม (Saving) เป็นส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของ Pop เมื่อมี Yd จำนวนหนึ่ง


**ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการออม**
1. รายได้ที่เป็นตัวเงิน (Yd) > Yd = Y – ty
      ถ้า t (เพิ่ม) > S (ลดลง)
      ถ้า t (ลดลง) > S (เพิ่ม)

2. การคาดคะเนของผู้บริโภค
       Y e (เพิ่ม) >S (ลด)
       Y e (ลด) >S (เพิ่ม)

3. ค่านิยมทางสังคม
ผู้บริโภคนิยมวัตถุ > C (เพิ่ม) > S (ลดลง)

**ฟังก์ชั่นการออม (The Saving Function)**


โดย –a คือ การออมในอดีตที่ถูกใช้ในการบริโภค เมื่อรายได้ที่อยู่ในมือบุคคล = 0


ความสัมพันธ์ระหว่าง S และ Yd ก็ เช่นเดียวกับ C นั้นคือ S a Yd

**ความโน้มเอียงเฉลี่ยที่จะออมทรัพย์ (The Average Propensity to save)
เป็นอัตราส่วนระหว่างเงินออมกับรายได้ 


              Yd
 
APS = S

**ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการออมเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย **
(The Marginal Propensity to Save / MPS)
        เป็นอัตราส่วนระหว่างเงินออมที่เปลี่ยนแปลงกับรายได้ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะให้คำตอบว่า เมื่อคนเรามีรายได้เปลี่ยนแปลง 1 หน่วยแล้ว การออมจะเปลี่ยนแปลงไปสักเท่าใด



การบริโภค




**ความสัมพันธ์ระหว่างความโน้มเอียงในการบริโภค กับความโน้มเอียงในการออม**


จากรูป (ก) และ (ข) มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

1. ณ จุด a Yd = C ; S = 0 (Break-evenpiont) จากตารางจุดนี้ Yd ที่ใช้จ่าย = 8000 บาท
2. ณ Yd1 < Yd2 มี C > Yd ดังนั้น จึ้งต้องกู้ยืมหรือนำเงินออมในอดีตมาใช้ \ S ติดลบ เท่ากับ d, f
3. ณ Yd1 > Yd2 > C ส่วนหนึ่งเหลือ S = bc
4. ณ Yd2 : APC = 1 , Yd1 : APC > 1
5. ณ Yd3 : APC < 1

จากการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคตามกฎว่าด้วยการบริโภคในระยะสั้นของเคนส์ เท่าที่เราได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น พอสรุปได้ดังนี้
1. APC และ MPC จะมีค่าเพิ่มในสัดส่วนลดลงเรื่อง ๆ เมื่อรายได้สูงขึ้น เพราะการบริโภคจะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วน APS, MPS จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น
2. APC + APS = 1 เสมอ หมายความว่า การที่เรามีรายได้อยู่ก้อนหนึ่งจะใช้บริโภคเสียส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะเก็บออมไว้
3. MPC + MPS = 1 เสมอ หมายความว่า DY = DC + DS
4. MPC (ลดลง) (เส้นการบริโภคจะโค้งลง) และ MPS (เพิ่ม) เมื่อ Yd (เพิ่ม) Q DC < DY
5. 0 < MPC < 1
6. 0 < MPS < 1 


**การลงทุน (Investment)**
       การลงทุนในความหมายทางเศรษฐกิจ “รายจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อซื้อสินค้าประเภทที่ผลิตขึ้นใหม่ (New fixed capital goods ) เช่น ที่อยู่อาศัย โรงงาน เครื่องจักรกล อาคารสำนักงาน ทั้งนี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือด้วย” \ การลงทุน เป็นการจัดหา หรือเพื่อการทดแทนมูลค่าของทุน ที่เสื่อมราคาไป อีกนัยหนึ่ง การลดทุนมวลรวม = การลงทุนสุทธิ + การลงทุนเพื่อทดแทน Gross Investment = Net Investment + Replacement Investment
It   =  I nt   +  I rt 

      การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อที่ดินเพื่อเกรงกำไร การซื้อสินทรัพย์และหลักทรัพย์มือสอง ในการคำนวณรายได้ประชาชาติไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน แต่ถือเป็นการลงทุนทางการเงิน (Financial Investment ) เพราะการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ทำให้สินทรัพย์ประเภททุนในระบบเศรษฐกิจ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต โดยตรงระบบเศรษฐกิจ

**ปัจจัยที่กำหนดการลงทุน**

อัตราดอกเบี้ย (Rate of Interest)
i เป็น cost การผลิตรวม
i (เพิ่ม) > I (ลด); i(ลด) > I(เพิ่ม)
กำไรที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Profit)
กำไร e มากกว่า ต้นทุน > I(เพิ่ม)
ราคาสินค้า
Pf > IRR > I(ลด)
Pc < IRR > I(เพิ่ม)
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
Tech ก้าวหน้า > ผู้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ > ครองตลาดทำให้มี I ใหม่อยู่ตลอดเวลา
นโยบายของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมือง
t (เพิ่ม) และ t ซ้ำซ้อน > cost (เพิ่ม) > ไม่สามารถแข่งขัน ในตลาดได้ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ

ฟังก์ชั่นการลงทุน
I = f(Yd, A, B, C, D)
I = ปริมาณการลงทุน
Yd = รายได้ที่เป็นตัวเงิน
B = กำไรคาดว่าจะได้รับ
A = อัตราดอกเบี้ย
C = ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ลักษณะของการลงทุน แบ่งออกเป็น
การลงทุนโดยอิสระ (Autonomous Investment) 
เป็นการลงทุนไม่ D ตาม Yd เส้น I ขนานกับแกนนอนซึ่งวัดตาม Yd

การลงทุน


     Ia ส่วนมากเป็นการลงทุนของรัฐบาล ซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทนโดยตรง เช่น การลงทุนในทางด้านการศึกษา การลงทุนสร้างถนนหนทาง


การลงทุนโดยถูกจูงใจ (Induced Investment) จะแปรผันตามระดับเงินได้





**สิ่งที่กำหนดการลงทุน**

การตัดสินใจเพื่อการลงทุนจะต้องเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยและผลตอบแทนเรียกว่า ประสิทธิภาพของเงินลงทุนหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Efficiency of capital /MEC) 
ถ้า I < IRR หรือ MEC > ตัดสินใจลงทุน 
I > IRR หรือ MEC > ระงับการลงทุน 
เช่น S = R1 + R2 + … + Rn 
   (1+i)n  (1+i)2  (1+i)  
S = (Supply Price) = สินทรัพย์ทุน 
R1, R2, …, Rn = รายรับของแต่ละปีอันเกิดจากใช้สินทรัพย์ทุน 
i = MEC 
ถ้า MEC > หรือ = ด/บ ตลาด ตัดสินใจลงทุน 
ถ้า MEC < ด/บ ตลาด ระงับการลงทุน 

**การซื้อสินทรัพย์ทุนหน่วยหลัง ๆ > MEC (ลดลง) **
-รายรับ (เพิ่ม) จากการใช้สินทรัพย์ หน่วยหลัง ๆ < รายรับ (เพิ่ม)จดการใช้สินทรัพย์หน่วยแรก ประสิทธิภาพการผลิตน้อยกว่า 
- P f หน่วยหลัง ๆ (เพิ่ม) > รายรับ (R) ลดลง 
- Pc หน่วยหลัง ๆ (เพิ่ม) > R (ลด) และ MEC (ลด) 


**ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการลงทุน**

การคาดคะเนของผู้ลงทุน (Expectation) 
D e (เพิ่ม) > MEC (เพิ่ม) D e (ลด) > MEC (ลด)


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ ขึ้นมา



จูงใจ I (เพิ่ม) 
ลด Cost > กำไร (เพิ่ม) 
การ DY หรือ NI 

D (เพิ่ม) > I (เพิ่ม) ผ่าน Inve หรือเครื่องจักรทางโรงงานเดิม 

ระดับรายได้ประชาชาติ 
Y (เพิ่ม) > I (เพิ่ม) 
Y (ลด) > I (ลด) 
ภาษี 
T (เพิ่ม) > IRR (ลด) 
T (ลด) > IRR (เพิ่ม)