บทที่ 7 อุปทาน


อุปทาน

ความหมายของอุปทาน
   อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตเต็มใจนำออกเสนอขาย ในตลาดภายในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันของสินค้าและบริการนั้น โดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดอุปทานคงที่
จากความหมายของอุปทาน จะเห็นได้ว่าอุปทานประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1. ความเต็มใจที่จะเสนอขายหรือให้บริการ (willingness) กล่าวคือ ณ ระดับราคาต่างๆ ที่ตลาดกำหนดมาให้ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการมีความยินดีหรือเต็มใจที่จะเสนอขายสินค้าหรือให้บริการตามความต้องการซื้อของผู้บริโภค
2. ความสามารถในการจัดหามาเสนอขายหรือให้บริการ (ability to sell) กล่าวคือ ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ จะต้องจัดหาให้มีสินค้า หรือบริการ อย่างเพียงพอที่จะ ตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภค ณ ระดับราคาของตลาดในขณะนั้นๆ (สามารถเสนอขาย หรือให้บริการได้) เมื่อกล่าวถึงคำว่า ”อุปทาน “ จะเป็นการมองทางด้านของผู้ผลิต ซึ่งตรงข้ามกับอุปสงค์ที่เป็นการมองทางด้านของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าที่มีต่ออุปทานของสินค้านั้นจะเป็นไปตามกฎของ

อุปทาน (Law of Supply) 

กฏของอุปทาน (Law of Supply)
    กฎของอุปทาน (Law of Supply) จะอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้ผลิตในการแสวงหากำไรสูงสุด กฎของอุปทานกล่าวว่า “ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจจะนำออกขายในระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับราคาสินค้านั้นๆ ในทิศทางเดียวกัน” กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณอุปทานจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าจะได้กำไรสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลง เนื่องจากคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทานจึงเป็นเส้นที่มีลักษณะที่ลากเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยตัวอื่นๆ ที่มีผลต่ออุปทานมีค่าคงที่



* เมื่อราคาของสินค้า x สูงขึ้น (จาก P ไป P') ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกมาขายเพิ่มขึ้น (จาก Qไป Q')
  “ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการจำหน่าย ย่อมแปรผันในทางเดียวกัน กับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ”
    จากกฎของอุปทานสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณขายสินค้า กับระดับราคาสินค้า ด้วยสมการ ดังนี้




ฟังก์ชันของ อุปทาน (Supply Function)
     ฟังก์ชันของอุปทาน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง กับปัจจัยชนิดต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนด ปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการชนิดนั้น เช่น
Qs = f ( Px , C , Py , T , S , ….. )
โดยที่ Qs = ปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการของสินค้า
Px = ราคาของสินค้าที่เสนอขาย
C = ต้นทุนการผลิต
Py = ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ปริมาณ สินค้าที่เสนอขาย
T = เทคนิคการผลิต
S = ฤดูกาล


ตารางอุปทานและเส้นอุปทาน
   ในทำนองเดียวกันกับตารางอุปสงค์ ตารางอุปทาน (supply schedule) เป็นตารางตัวเลขที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณอุปทานของสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
 1. ตารางอุปทานส่วนบุคคล (individual supply schedule) เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปทานในสินค้า หรือบริการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ และเช่นเดียวกันกับกรณีของอุปสงค์ จากตารางนี้เราสามารถนำตัวเลข แต่ละคู่ ลำดับของราคาและปริมาณอุปทานมา พลอตเป็นจุด และเมื่อเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะได้เส้นอุปทานส่วนบุคคลตามภาพ 6.7 ซึ่งเป็นเส้นที่มีลักษณะ เฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวาตามกฎของอุปทาน






2. ลักษณะของเส้นอุปทาน (Supply Curve) เส้นอุปทาน (Supply Curve) มีลักษณะเป็นเส้นตรง ลาดขึ้นจากซ้ายไปขวาความชัน (Slope) เป็นบวก เนื่องจากราคาและปริมาณการเสนอขายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual Supply sและอุปสงค์ตลาด (Market Supply ) 4
ในการพิจารณาอุปทาน ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณการเสนอขายสินค้าที่ผู้ผลิต รายใดรายหนึ่งต้องการเสนอขาย เรียกอุปทานนั้นว่า “อุปทานส่วนบุคคล (Individual Supply)” แต่ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณการเสนอขายสินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ เรียกอุปทานนั้นว่า “อุปทานตลาด (Market Supply)”





รูปที่ 2.6 เส้นรวมของตลาดเงาะ

จากตารางและรูป 2.6 แสดงว่าถ้าปัจจัยอื่นคงที่เมื่อราคาของสินค้าหรือบริการสูงขึ้น ทั้งอุปทานส่วนบุคคล และอุปทานรวมจะเพิ่มขึ้น และในทางกลับกัน เมื่อราคาลดลงปริมาณอุปทาน ทั้งสองประเภทจะลดลงด้วย และถ้าพิจารณาจากกราฟจะเห็นได้ว่าลักษณะของทั้งเส้นอุปทานส่วนบุคคล และอุปทานรวมจะเป็นเส้นที่ลากเฉียง ขึ้นจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปทานที่ว่าราคาของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเป็นปฏิภาคโดยตรง
กับปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานในสินค้าชนิดนั้น โดยอยู่ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยอื่นๆ คงที่

ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
     การที่ผู้ผลิตจะนำสินค้าออกมาเสนอขายมากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากราคาของสินค้าชนิดจะเป็นปัจจัย ที่กำหนดแล้วยังมีอีกหลายปัจจัย ดังนี้
ต้นทุนการผลิต การตัดสินใจในปริมาณการผลิตผู้ผลิตจะเปรียบเทียบระหว่างรายได้จากการขายสินค้ากับต้นทุน ในการผลิต ต้นทุนการผลิตมีผลต่อปริมาณการผลิตสินค้าโดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม  ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งใดอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อ ปริมาณเสนอขายสินค้าอีกชนิดหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของสินค้า เช่น สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการผลิตสินค้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพดินฟ้าอากาศมีผลกระทบต่อปริมาณการเสนอขายสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร สภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยจะส่งผลให้อุปทานสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น
เทคโนโลยี ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการผลิตมาก การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการผลิตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปริมาณผลผลิตด้วย
นโยบายรัฐบาล ปริมาณเสนอขายสินค้าอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ เช่น ถ้าจัดเก็บภาษีการค้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตอาจลดการผลิตลงเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
การเปลี่ยนแปลงของอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ 2 แบบคือ
1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณของอุปทาน (Change in quantity supply) เป็นการเปลี่ยนแปลง อุปทานเนื่องจากราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ข้อสมมุติปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดอุปทานคงที่ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของอุปทานจะทำให้ปริมาณการเสนอขายเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นอุปทานเส้นเดิม ถ้าพิจารณาจากกราฟการเปลี่ยนแปลงของอุปทานดังกล่าวจะเป็นการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะของการเคลื่อนไหว อยู่ภายในเส้นอุปทานเส้นเดิม จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (ดังรูป จากจุด A ไปยังจุด B )





2. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทานChange in supply) เป็นการเปลี่ยนแปลงอุปทานเนื่องจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่ออุปทาน เช่น ต้นทุนการผลิต เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนแปลง ภายใต้ข้อสมมุติราคาสินค้าชนิดนั้นคงที่ และส่งผลให้เส้นอุปทานเกิดการเคลื่อนย้ายไปจากเส้นเดิม ถ้าผลการเปลี่ยนแปลงทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นเส้นจะเลื่อนระดับไปด้านขวามือของเส้นเดิม และถ้ามีผลให้อุปทานลดลง เส้นจะเลื่อนระดับไปทางซ้ายมือของเส้นเดิม
ถ้าพิจารณาจากกราฟการเปลี่ยนแปลงของอุปทานดังกล่าว จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการเคลื่อนย้าย เส้นอุปทาน ไปทั้งเส้นจากเส้นเดิมไปสู่เส้นใหม่ โดยถ้าเส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทางขวาของเส้นเดิมแสดงว่าอุปทานเพิ่มขึ้น
ถ้าเคลื่อนย้ายไปทางซ้ายแสดงว่าอุปทานลดลง (ตามรูป 2.8)





ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)
       ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กลไกราคา (Price Mechanism) เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุม อุปสงค์และอุปทานในตลาดให้เกิดความสมดุล ถ้าอุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากันจะมีการปรับตัว จนกระทั่งเกิดสมดุล หรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน ดุลยภาพจะไม่เปลี่ยนแปลงตราบเท่าที่ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง ราคาสินค้า ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเรียกว่า “ราคาดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Price)” ปริมาณสินค้า ณ จุดนั้นเรียกว่า “ปริมาณดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Quantity)” และเรียกจุดดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)” ดังภาพ



รูปที่ 2.9 เส้นอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงาะ

จากตารางและรูปที่ 2.9 ราคาดุลยภาพเท่ากับ 14 บาท ปริมาณดุลยภาพเท่ากับ 70 หน่วย (ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน)
ระดับราคาที่อยู่เหนือราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (excess supply or surplus) เนื่องจากระดับราคาดังกล่าวสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมาก แต่ผู้บริโภคมีความต้อง การซื้อน้อย เกิดความไม่สมดุล ณ ระดับราคาดังกล่าว ถ้าผู้ผลิตมีความต้องการที่จะขายก็จะต้องลดราคาลงมา เพื่อกระตุ้นหรือจูงใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อ (มีความต้องการซื้อ) มากขึ้น
โดยสรุป ราคาจะมีแนวโน้มลดลงจากเดิมจนเข้าสู่ราคาดุลยภาพ ในทางกลับกัน ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด (excess demand or shortage) ซึ่งราคาดังกล่าว ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายน้อย แต่ผู้บริโภคกลับมีความต้องการซื้อมาก เกิดความไม่สมดุล เมื่อผู้บริโภค มีความต้องการซื้อมาก (อุปสงค์เพิ่ม) ส่งผลให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตเสนอขายสินค้ามากขึ้น ในที่สุดราคาจะมีแนวโน้มเข้าสู่ราคาดุลยภาพ
กล่าวโดยสรุป ระดับราคาที่อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะเป็นระดับราคาที่ไม่มีเสถียรภาพ ราคาที่อยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะมีแนวโน้มลดลงมา ส่วนราคาที่อยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะมีแนวโน้มสูงขึ้น จนในที่สุดเข้าสู่ดุลยภาพของตลาด ซึ่งเป็นระดับราคาที่ค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ เป็นระดับราคา ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน (เส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน)

บทบาทของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อดุลยภาพของตลาด
     จากการที่เราได้ทำการศึกษาเรื่องของอุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพของตลาดมาแล้ว ต่อไปเราจะศึกษาบทบาท ของรัฐบาลที่เข้าไปแทรกแซงตลาดโดยใช้นโยบายการควบคุมราคา ซึ่งมีผลกระทบต่อดุลยภาพของตลาด
• การควบคุมราคา (price control) คือการที่รัฐบาลยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ เพื่อทำให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เพราะสินค้าบางชนิดราคาไม่ค่อยมีเสถียรภาพ กล่าวคือ เมื่อปริมาณการผลิต เปลี่ยนแปลงไปมักจะทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำเกินไปจนทำให้ผู้บริโภคหรือผู้ผลิต ได้รับ ความเดือดร้อน ดังนั้นรัฐบาลจึงเข้ามาให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านผู้บริโภคและผู้ผลิต มาตรการที่ใช้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. การกำหนดราคาขั้นสูง (maximum price control)
การควบคุมราคาขั้นสูงเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้ และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด
 ระดับราคา OP0 ซึ่งเป็นราคาดุลยภาพ รัฐบาลมีความเห็นว่าเป็นราคา ที่สูงเกินไป ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ขายขายสินค้านั้นในราคาเพียง OP1 ซึ่งเมื่อราคาลดลงเหลือ OP1 จะทำให้ผู้ขายมีความต้องการขายลดน้อยลงคือ OQ1 แต่ทางด้านผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้านั้นเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ดังนั้นทำให้สินค้าขาดตลาดหรือไม่เพียงพอแก่การจำหน่าย อยู่เท่ากับ Q1Q2 เมื่อเกิดสินค้าขาดตลาด รัฐบาลจึงต้อง ดำเนินมาตรการต่อมาคือการใช้วิธีการ ปันส่วนสินค้า (rationing) การปันส่วนสินค้านี้จะช่วยให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าไปบริโภคอย่างทั่วถึงกัน หรือรัฐบาล อาจดำเนินมาตรการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมโดยการ สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือที่อื่นใดเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดนั้น
2. การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control)
การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิต
ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป การควบคุมราคาขั้นต่ำส่วนใหญ่จะควบคุมสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตร ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าราคาผลผลิตต่ำเกินไป ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนการควบคุมราคาขั้นต่ำนั้นรัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้า
ไม่ให้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนดรูปที่ 2.11 การเกิดอุปทานส่วนเกินเนื่องจากการกำหนดราคาขั้นต่ำ
 ณ ระดับราคา OP0 รัฐบาลมีความเห็นว่าเป็นราคาที่ต่ำเกินไปทำให้ผู้ผลิต เดือดร้อน รัฐบาลจะประกาศให้ผู้รับซื้อสินค้าต้องรับซื้อสินค้าในราคา OP1 ซึ่งเมื่อราคาอยู่ที่ OP1 จะทำให้ความต้องการซื้อสินค้าลดลงจาก OQ0 เป็น OQ1 และความต้องการขายสูงขึ้นจาก OQ0 เป็น OQ2 ดังนั้นจึงทำให้สินค้าล้นตลาดหรือจำหน่ายไม่หมดอยู่เท่ากับ Q1Q2 เมื่อสินค้าล้นตลาด รัฐบาลจึงต้องดำเนิน มาตรการต่อมาคือต้องใช้วิธี รับซื้อสินค้า (purchase policy) ส่วนที่ขายไม่หมด โดยอาจจะระบายไป ขายต่างประเทศ หรือซื้อเก็บไว้แล้วค่อยนำออกจำหน่ายเมื่อสินค้าขาดตลาดในเวลาต่อไป