บทที่ 8 การกําหนดราคาและดุลยภาพของตลาด


การกําหนดราคาและดุลยภาพของตลาด

       ตามกฎของอุปสงค์ (Law of Demand) ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าเพิ่มก็ต่อเมื่อราคา สินค้านั้นถูกลงและในทางตรงช้าม ถ้าราคาสินค้านั้นสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้านั้น น้อยลง ส่วนกฎของอุปทาน (Law of Sypply) ผู้ขายจะนําสินค้าออกมาเสนอขายมากขึ้น เมื่อราคาสินค้านั้นสูงขึ้น และถ้าราคาสินค้าลดลง ผู้ขายจะนําสินค้าออกมาเสนอขาย ปริมาณที่น้อยลง ดังนั้น ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าปริมาณที่ลดลง แต่ ผู้ขายจะนําสินค้าออกมาเสนอขายมากขึ้น และสามารถพิจารณาได้ในทางตรงข้ามสําหรับ กรณีที่สินค้ามีราคาถูกลง ดังนั้น จึงต้องมีระดับราคาหนึ่งที่ทําให้ปริมาณความต้องการ ซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขาย ซึ่งเรียกว่าราคาดุลยภาพ ในบทนี้จะพิจารณาถึงการกําหนด ขึ้นมาของระดับราคาดุลยภาพ และจะพิจารณาว่าดุลยภาพนั้นจะมีเสถียรภาพหรือไม่ใน ทัศนะของ Walras และ Marshall ต่อจากนั้นจะพิจารณาถึงการที่อุปทานซึ่งไม่สามารถ ปรับปริมาณผลผลิตได้ในขณะนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหรือมีการ ล่าช้าของเวลา (time lag) ในด้านอุปทาน ซึ่งเป็นเรื่องของทฤษฎีใยแมงมุม (The Cobweb Theorem) ตลอดจนพิจารณาถึงการกําหนดราคาขั่นตํ่าซึ่งเป็นการแซกแซงการ เป็นไปของระบบตลาดทําให้ไม่มีการบรรลุถึงจุดดุลยภาพ และในท้ายที่สุดก็จะพิจารณา ประโยชน์ของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ ความ ยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ ร่วมด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่พิจารณา อัตราการเปลี่ยนแปลงของของราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง และอัตราการเปลี่ยนแปลงของของ รายได้ของผู้บริโภคว่าจะมีผลกระทบต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในปริมาณความต้องการ ซื้ออย่างไร
ราคาดุลยภาพ (Price Equilibrium) ราคาของสินค้าหรือบริการจะถูกกําหนดโดยอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)ของสินค้าหรือบริการนั้น ณ ระดับราคาที่ปริมาณสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อเท่ากับ ปริมาณสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย เรียกว่า ราคาดุลยภาพ (price equilibrium)

ตัวอย่างการคํานวณหาราคาและปริมาณดุลยภาพ 
ตัวอย่างที่  สมมุติสมการอุปสงค์ตลาดและอุปทานตลาดสําหรับสินค้า X และสินค้า Y เป็นดังนี้ อุปสงค์ตลาดสําหรับสินค้า X: DX = 10 – 2 PX + P Y อุปทานตลาดสําหรับสินค้า X: SX = – 2 + 3 PX อุปสงค์ตลาดสําหรับสินค้า Y: D Y = 15 + PX – P Y อุปทานตลาดสําหรับสินค้า Y: S Y = – 5 + 2 P Y จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพของสินค้า X และสินค้า Y วิธีทํา เนื่องจากดุลยภาพของตลาดสินค้า X และตลาดสินค้า Y จะเกิดก็ต่อเมื่อ DX = SX และ DY = SY ดังนั้น 10 – 2 PX + P Y = –2 + 3 PX – 5 PX + P Y = – 12 . . . . (3 – 1) และ 15 + PX – P Y = – 5 + 2 P Y PX – 3 P Y = – 20 . . . . (3 – 2) สมการที่ (3 – 1) x 3 จะได้ –15 PX + 3 P Y = – 36 . . . . (3 – 3) สมการที่ (2 – 2) + (2 – 3) จะได้ –14 PX = – 56 ∴ PX = 4 แทนค่า P X = 4 ในสมการที่ (3 – 2) จะได้ P Y = 8 แทนค่า PX = 4 และ P Y = 8 ในสมการอุปสงค์หรืออุปทานของสินค้า X หรือสินค้า Y จะได้ปริมาณดุลยภาพของสินค้า X และสินค้า Y นั่นคือ
QXE = – 2 + 3 (4) = 10 Q YE = – 5 + 2 (8) = 11 ดังนั้นราคาดุลยภาพของสินค้า X เท่ากับ 4 บาทต่อหน่วย ปริมาณดุลยภาพ ของสินค้า X เท่ากับ 10 หน่วย และราคาดุลยภาพของสินค้า Y เท่ากับ 8 บาทต่อ หน่วย ปริมาณดุลยภาพของสินค้า Y เท่ากับ 11 หน่วย ตัวอย่างที่ 2 สมมุติให้demand function และ supply function ของสินค้าชนิดหนึ่ง แสดงด้วยสมการต่อไปนี้ Demand: Qd = 1,000 - 100 P Supply: QS = – 125 + 125 P จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพ และถ้าสมมุติ Demand Function เปลียนแปลงเป็นดังนี้ Q′ d= 1,450 - 100 P โดยที่ Supply Function ไม่เปลี่ยนแปลง จงคํานวณหาราคาและปริมาณดุลยภาพ ใหม่ วิธีทํา ณ ระดับราคาดุลยภาพ อุปสงค์เท่ากับอุปทาน (Qd = QS) 1,000 - 100 P = – 125 + 125 P 225 P = 1,125 ดังนั้นระดับราคาดุลยภาพ คือ PE = 5 แทนค่าราคาดุลยภาพ(PE) = 5 ในสมการอุปสงค์ หรือสมการอุปทานจะได้ ปริมาณดุลยภาพ(QE) QE = 500 ถ้าสมมุติ Supply Function ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ Demand Function เปลียน แปลง ระดับราคาและปริมาณดุลยภาพใหม่หาได้ดังนี้ ณ ระดับราคาดุลยภาพใหม่ Q′ d = QS 1,450 - 100 P = – 125 + 125P 225 P = 1,575 ดังนั้นระดับราคาดุลยภาพใหม่ คือ P′ E = 7 และปริมาณดุลยภาพใหม่ คือ Q′ E = 1,450 - 100(7) = 750ดุลยภาพที่มีเสถียรภาพและดุลยภาพที่ไม่เสถียรภาพ (Stable and Unstable Equilibrium) สภาวะดุลยภาพ (Stable Equilibrium) เป็นสภาวะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตราบ ใดที่ไม่ถูกรบกวนเข้าสู่ดุลยภาพเดิมหลังจากถูกรบกวนจากปจจัยภายนอก ดุลยภาพที่ไม่มีเสถึยรภาพ (Unstable Equilibrium) หมายถึงภาวะที่ไม่ทราบทิศ ทางการปรับตัวเมื่อถูกรบกวนจากปจจัยภายนอก ั ในการศึกษาถึงดุลยภาพที่มีเสถียรภาพและดุลยภาพที่ไม่มีเสถียรภาพของราคา นักเศรษฐศาสตร์ 2 ท่าน คือ Walras นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ Marshall นัก เศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้พิจารณาวางเงื่อนไขของราคาดุลยภาพที่มีเสถียรภาพและที่ ไม่มีเสถียรภาพแตกต่างกัน สําหรับ Walras ราคาดุลยภาพจะมีเสถียรภาพเมื่อผู้ซื้อมีแนวโน้มที่จะเสนอ ราคาซื้อให้สูงขึ้นถ้าอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) เป็นบวก และผู้ขายมีแนวโน้มที่ จะลดราคาสินค้าให้ตํ่าลง ถ้าอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) เป็นลบ นั่นคือการ พิจารณาของ Walras เป็นการพิจารณาดูว่าระดับราคาสูงหรือตํ่ากว่าราคาดุลยภาพ สําหรับ Marshall ราคาดุลยภาพจะมีเสถียรภาพเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตถ้า ราคาอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand price) เป็นบวก และผู้ผลิตจะลดการผลิตลงถ้า ราคาอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand price) เป็นลบ นั่นคือ การพิจารณาของ Marshall เป็นการพิจารณาทางด้านปริมาณ (quantity approach) โดยพิจารณาว่า ปริมาณสูงหรือตํ่ากว่าปริมาณดุลยภาพ

การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพของตลาด


1.อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปทานคงที่ ซึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปสงค์นี้ มาจากรายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง หรือราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลง หรือการคาดคะเนราคาสินค้าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เนอุปสงค์ในสินค้าเปลี่ยนแปลงไปซึ่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ ทำให้เส้นอุปสงค์เคลื่อนย้ายออกจากเส้นเดิม

2.อุปทานเปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปสงค์คงที่ แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาวะดุลยภาพในกรณีที่เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุมาจากต้นทุนการผลิต เทคนิคการผลิต การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง หรือสภาพของดินฟ้าอากาศ

3.อุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันและในสัดส่วนที่เท่ากัน
     1.ในกรณีที่อุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงในทางที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่เท่ากันในกรณีนี้ราคาดุลยภาพจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงในทางที่เพิ่มขึ้น
     2.ในกรณีที่อุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงในทางที่ลดลง และในสัดส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ราคาดุลยภาพคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณดุลยภาพลดลง ก็เนื่องมาจากอุปสงค์ลดลงจะทำให้ราคาลดลง
4.อุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามและในสัดส่วนที่เท่ากัน
     1.อุปสงค์เพิ่มขึ้นแต่อุปทานลดลง ในกรณีนี้จะมีผลให้ราคาดุลยภาพเพิ่มสูงขึ้นแต่ปริมาณดุลยภาพเท่าเดิม 
     2.อุปสงค์ลดลงอุปทานเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้จะทำให้ราคาดุลยภาพลดลงแต่ปริมาณดุลยภาพเท่าเดิม