บทที่ 5 ตลาด


ตลาด

    การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ

องค์ประกอบของการตลาด
1.มีสิ่งที่จะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ คือ สินค้าหรือบริการ
2.มีตลาด คือ ผู้ชื้อที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
3.มีผู้ขายสินค้าหรือบริการ
4.มีการแลกเปลี่ยน

ตลาดตามความหมายของบุคคลทั่วไป
      ตลาด หมายถึง สถานที่ ที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ผู้ซื้อผู้ขายจะไปตกลงซื้อขายสินค้ากัน

ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด
      ตลาด คือ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีความคิดที่จะซื้อสินค้า มีอำนาจซื้อ และมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

ขนาดตลาด (Market Size) คือความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่มีมากเพียงใด คุณภาพ และปริมาณเท่าใดที่ลูกค้าต้องการ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างผลกำไรด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการเฉพาะอย่าง ซึ่งจะสรุปได้ว่าจำนวนลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าทั้งหมดในขอบเขตของธุรกิจที่เป็นไปได้จะต้องกว้างพอที่จะช่วยธุรกิจได้ เถ้าแก่จะต้องรู้ว่าสิ่งที่ลูกค้าชอบและไม่ชอบ เพื่อให้บริการมีคุณภาพและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้


               หน้าที่ของตลาด
1. การจัดหาสินค้า
   คือการจัดหาสินค้าและบริการมาเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้า ในตลาดหนึ่งๆจะมีสินค้าทุกชนิดไว้สนองความต้องการของผู้ซื้อหรือลูกค้า ตามหน้าที่นี้ผู้มีบทบาทในการจัดหาหรือซื้อสินค้าก็คือ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก พ่อค้าคนกลาง รวมทั้งผู้บริโภคด้วย โดยประมาณการด้านอุปสงค์และอุปทานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของตลาด การจะจัดหาสินค้า ชนิดและลักษณะใด จำนวนมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้บริโภคในท้องถิ่น และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มีมาก่อน

2. การเก็บรักษาสินค้า
   การเก็บรักษาสินค้าเพื่อไว้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคนั้นมีเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก เก็บรักษาไว้เพื่อรอเวลาในการจำหน่ายให้ได้ราคาดี เพราะถ้าจำหน่ายใน ช่วงนั้นราคายังต่ำเนื่องจากในช่วงนั้นมีสินค้าเหล่านั้นอยู่มาก เช่น เมื่อถึงฤดูตัดอ้อย อ้อยจะมีราคาถูก เนื่องจากมีผู้ขายนำอ้อยออกมาขายมาก ทำให้ราคาไม่ดี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของตลาดอ้อยที่จะทำการเก็บสินค้าไว้และทยอยออกมาขายเมื่อพ้นฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้ว ทำให้ได้ราคาดี ส่วน ประการที่สอง เก็บรักษาไว้เพื่อให้มีคุณภาพเหมาะสมแก่การบริโภค เช่น สุรา ถ้าได้มีการเก็บไว้นานๆจะทำให้รสชาติ น่ารับประทานมากขึ้น

3. การขายสินค้าและบริการ
  เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของตลาด แต่ความหมายของการขายสินค้านั้นอาจมองกว้างไปถึงการส่งเสริมการขายและการโฆษณาชักชวนให้มีการซื้อ หรือ กระทำอย่างใดก็ตามที่เป็นการชักจูงให้ผู้ซื้อซื้อสินค้ามากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการให้สูงขึ้น และมีกำไรมากขึ้นด้วย

4. การกำหนดมาตรฐานสินค้า
  เป็นหน้าที่ของตลาดอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องทำการคัดแยกคุณภาพ คุณสมบัติ รูปแบบ และสินค้าชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อเตรียมจัดจำหน่ายแก่ผู้ซื้ออย่างสะดวกสบายขึ้น การกำหนดมาตรฐานของสินค้านี้อาจใช้เกณฑ์การแบ่งแยกหลายๆวิธี เช่น ถือมาตรฐานน้ำหนัก ส่วนประกอบทางเคมี สี รูปร่าง ขนาด เป็นต้น

5. การขนส่ง
  การที่สินค้าจากผู้ผลิตจะถึงมือผู้บริโภคได้ก็ต้องอาศัยการขนส่งทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานหรือแหล่งที่ทำการผลิตออกสู่ตลาดและสู่ผู้บริโภค การทำหน้าที่ขนส่งนี้จัดว่าเป็นหน้าที่ของตลาดอย่างหนึ่ง

6.การป้องกันการเสี่ยงภัย
  หน้าที่ของตลาดที่ตามมาเนื่องจากการมีสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายอีกอย่างหนึ่งคือการเสี่ยงต่อภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น อัคคีภัย อุทกภัย สินค้าสูญหาย สินค้าราคาต่ำลง โจรกรรม เป็นต้น ภัยต่างๆเหล่านี้นักธุรกิจจะเป็นผู้ดำเนินการหาทางป้องกัน เช่น ทำการประกันภัยกับบริษัทประกันภัย สร้างโกดังหรือเก็บสินค้าให้ปลอดภัยจากการโจรกรรม

7. การเงิน
  หน้าที่ทางการเงินของตลาดจะเข้ามามีบทบาทในทุกขั้นตอนของตลาด นับตั้งแต่การขนส่ง การจัดมาตรฐานสินค้า การเก็บรักษาสินค้า จนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค เพราะทุกขั้นตอนต้องอาศัยเงินมาจับจ่ายใช้สอยเป็นทุนหมุนเวียน เพื่อให้หน้าที่ต่างๆของตลาดดำเนินไปอย่างบรรลุผลด้วย

ขนาดของตลาด
     หมายถึง ขอบเขตการค้าของสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ซึ่งตามปกติ ตลาดสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.การคมนาคมและเทคโนโลยีสื่อสาร การนำสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคได้นั้นต้องอาศัยการขนส่ง ถ้าการขนส่งกระทำได้รวดเร็ว ปลอดภัย เสียค่าขนส่งถูก ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็สามารถส่งสินค้าออกไปขายที่ไกลๆ ได้ ตลาดก็จะมีอาณาเขตกว้างขวาง แต่ถ้าการขนส่งสินค้าล่าช้าไม่สะดวก เสียค่าขนส่งตลาดก็มีอาณาเขตแคบลง เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร ถ้าการติดต่อสื่อสารยิ่งสะดวกรวดเร็วมากเท่าไหร่ก็สามารถส่งสินค้าไปขายยังที่ต่างๆ ได้มาก หลากหลายรูปแบบ ตลาดก็จะมีอาณาเขตกว้างขวาวงขึ้น เช่น การซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

2.ลักษณะของสินค้า สินค้าบางชนิดมีตลาดแคบเนื่องจากลักษณะของสินค้านั้นๆ ได้แก่ สินค้าที่เน่าเสียหรือแตกง่าย เช่นกระเบื้อง เครื่องแก้ว เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถขนส่งไปขายในพื้นที่ห่างไกลได้ หรือจะต้องเสียค่าขนส่งแพงเนื่องจากต้องขนส่งทางเครื่องบิน รวมถึงสินค้าที่มีน้ำหนักมากหรือใช้พื้นที่มาก แต่มีมูลค่าต่ำ เช่นหิน ทราย เป็นต้น

3.โยบายของรัฐบาล นับง่าเป็นสาเหตุสำคัญในการกำหนดอาณาเขตของตลาด เช่น การกำหนดโควต้อส่งออก หรือการขึ้นอัตตราภาษีสางออกกับสินค้าบางชนิด ทำให้ตลาดสินค้าชนิดนั้นมีอาณาเขตแคบลง

4.ความต้องการของสินค้า สินค้าที่เป็นต้องการของคนโดยทั่วไป ย่อมทำให้ตลาดสินค้าชนิดนั้นมีอาณาเขตกว้างเขต เช่น ตลาดโทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค เป็นต้น ส่วนสินค้าบางชนิดเป็นที่ต้องการเฉพาะบุตตลบางกลุ่ม หรือบางท้องถิ่น เท่านั้น ย่อมทำให้ตลาดสินค้านั้นมีอาณาเขตแคบ เช่นตลาดเครื่องเพชร ตลาดสินค้า ยี่ห้อดังจากต่างประเทศ เช่น กระเป๋า นาฬิกา เป็นต้น