บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

       ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

1)  ความหมายของเศรษฐศาสตร์: เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ปัจจัยการ ผลิตอันมีอยู่จำกัดสำหรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์
2)  ทรัพยากรการผลิต (Productive Resources): แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
      (1) สิ่งที่คนสร้างขึ้น (Man-Made Resources) 
      (2) เกิดเองโดยธรรมชาติ (Natural-Made Resources)
3)  ปัจจัยการผลิต (Productive Factors): แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
      (1) แรงงาน (Labor: ค่าแรง)
      (2) ที่ดินและทรัพยากรณ์ธรรมชาติ (Land and Natural Resources: ค่าเช่า)
      (3) ทุน (Capital: ดอกเบี้ย)
(4)  ผู้ประกอบการ (Entrepreneur: กำไร)
   โดยในระบบทุนนิยม ผู้ประกอบการจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ริเริ่มการผลิตและเป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นผู้วางนโยบายและตัดสินใจในทุกขั้นตอนการผลิต ดูรูปที่ 1

                           

 4) สินค้าและบริการ (Goods and Services): แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 
     (1) เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) 
     (2) ทรัพย์เสรี (Free Goods)
5) ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ: แบ่งได้ 3 ปัญหา คือ
     (1) ผลิตอะไร (What), 
     (2) ผลิตอย่างไร (How)
     (3) ผลิตเพื่อใคร (For Whom)
     5.1) ผลิตอะไร: เพราะทรัพยากรมีจำกัด การเลือกใช้ไปในทางใดจะมีค่าเสียโอกาสเสมอ (Opportunity              Cost) โดย ทั่วไปจะเลือกใช้ไปในทางที่มีค่าเสียโอกาสต่ำสุดเสมอ
     5.2) ผลิตอย่างไร: การใช้เทคโนโลยีเปลี่ยน input(s) ให้เป็นoutput(s) เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ                     สูงสุด(Efficiency) คือเทคโนโลยีที่ใช้ input(s)น้อยกว่าวิธีอื่น แต่ให้output(s) เท่ากับวิธีอื่นหรือ                 เทคโนโลยีที่ใช้ input(s) เท่ากับวิธีอื่นแต่ให้ output(s) มากกว่าวิธีอื่น(ทั้งสองแนวคิดมีวิธีการ                  คำนวณต่างกัน แต่ให้ผลเหมือนกัน)
      5.3) ผลิตเพื่อใคร เป็นการกระจาย (Allocation) สินค้าและบริการที่ผลิตได้หรือ ทรัพยากรไปสู่                        ประชาชนหรือผู้บริโภค ถ้าการกระจายสินค้าและบริการไม่เป็นธรรม จะเกิดปัญหาความไม่เสมอ
         ภาค (Equity)
6) ระบบเศรษฐกิจ: ระบบเศรษฐกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
    (1) แบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม (Capitalism or Liberalism) 
    (2) แบบวางแผน (Planned Economy) และ 
    (3) แบบผสม (Mixed Economy)
                          การพิจารณาว่าประเทศหนึ่งใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด สามารถพิจารณาอย่างคร่าวๆได้จาก 2 สิ่งหลัก คือ 
    (1) เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้หรือไม่
    (2) เอกชนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยเสรีหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ “ไม่” ประเทศนั้นน่าที่จะมีระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน แต่ถ้า “ใช่” ประเทศนั้นน่าที่จะมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 

ระบบเศรษฐกิจ
ลักษณะสำคัญ
ข้อดี
ข้อเสีย
แบบทุนนิยม
(เอกชนคือใครก็ได้ที่ไม่ใช่รัฐบาล)
1.เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2.ใช้กลไกราคา และการแข่งขันโดยเสรีแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
3.เอกชนมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ใช้กำไรหรือความพอใจเป็นตัวตัดสิน)
4.รัฐไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจ (แต่ดูแลให้เกิดกลไกตลาด)
ถ้าเอกชน (นายทุน) มีคุณธรรมจริยธรรม หรือผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ขัดกับส่วนรวม
1.กำไรเป็นสิ่งจูงใจให้เกิดการพัฒนา
2.ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเอกชน (นายทุน) ไม่มีคุณธรรมจริยธรรม หรือผลประโยชน์ส่วนตัวขัดกับส่วนรวม
1.ใช้ทรัพยากรไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์กับส่วนรวม
2.เกิดความเลื่อมล้ำทางการกระจายรายได้และการถือทรัพย์สิน
แบบวางแผน
1.รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต(และทรัพย์สิน)ทั้งหมด
2.รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (รัฐบาลเป็นผู้วางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ)
1.มีเสถียรภาพ
2.ไม่มีความเลื่อมล้ำทางการกระจายรายได้และการถือทรัพย์สิน
1.ขาดประสิทธิภาพในการผลิต (คนไม่มีแรงจูงใจ) ไม่เกิดการพัฒนา (หรือเกิดแต่ช้า)
2.ใช้ทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ
แบบผสม
ผสมระหว่างแบบทุนนิยมและแบบวางแผน ขึ้นอยู่กับให้ความสำคัญรูปแบบใดมากกว่า
1.รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2.ใช้กลไกราคา และการแข่งขันโดยเสรีแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่รัฐสามารถแทรกแซง และวางแนวทางการดำเนินการทางเศรษฐกิจ (เช่น แผนพัฒนาฯ) ได้

ผสมระหว่างแบบทุนนิยมและแบบวางแผน ขึ้นอยู่กับให้ความสำคัญรูปแบบใดมากกว่า

ผสมระหว่างแบบทุนนิยมและแบบวางแผน ขึ้นอยู่กับให้ความสำคัญรูปแบบใดมากกว่า


7) การแก้ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจ กลไกการแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและแบบวางแผน ตามลำดับ

ระบบเศรษฐกิจ
เครื่องมือแก้ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจ
แบบทุนนิยม
กลไกราคาหรือกลไกตลาด (Price or Market Mechanism)
แบบวางแผน
วางแผนจากส่วนกลาง
แบบผสม
ใช้กลไกราคาร่วมกับวางแผนจากส่วนกลาง (เช่น ประเทศไทย)


8) วิชาเศรษฐศาสตร์: แบ่งเป็น 2 สาขาหลัก คือ
(1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
(2) เศรษฐศาสตร์มหาภาค (Macroeconomics)
      8.1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต (Producers) และ ผู้บริโภค (Consumers) โดยใช้ทฤษฎีของผู้ผลิตและของผู้บริโภคในการศึกษาตามลำดับ นอกจากนี้ เราจะใช้กลไกตลาดร่วมในการศึกษาถึงลักษณะการปฎิสัมพันธ์ของทั้งสองหน่วยย่อย
      8.2) เศรษฐศาสตร์มหาภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการ การออมและการบริโภคของประเทศ การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุน การนำเข้าและส่งออก และการจ้างงาน เป็นต้น
9) หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units): ประกอบด้วย 3 หน่วย คือ
    (1) ครัวเรือน (Household)
    (2) หน่วยธุรกิจ (Firms)
    (3) รัฐบาล (Government)
    9.1) ครัวเรือน: เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ (ทำให้เกิดอุปสงค์ในตลาดสินค้าและบริการ) แต่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต (ทำให้เกิดอุปทานในตลาดแรงงาน)
    9.2) หน่วยธุรกิจ: เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ (ทำให้เกิดอุปทานในตลาดสินค้าและบริการ) แต่เป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิต (ทำให้เกิดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน)
    9.3) รัฐบาล: ทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันของเอกชนให้เป็นไปโดยเสรี และดูแลทุกข์สุขของประชาชน