บทที่ 3 การผลิต

การผลิต

3.1. ความหมายของการผลิต
   การผลิต (production) หมายถึง กระบวนการ (process) ในการแปลรูปการผลิตเข้ากับวัตถุดิบโดยหน่วยการผลิต เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการต่าง ๆ นำไปสนองความต้องการของมนุษย์กล่าว คือ การผลิตจะสร้างอรรถประโยชน์ (utility) ขึ้นใหม่เพื่อให้มูลค่าของสิ่งของที่มีอยู่แล้วมากขึ้นนั่นเอง เช่น การนำดินเหนียว ซึ่งปกติแล้วมีอรรถประโยชน์น้อย มาทำเป็นเครื่องปั้นดินเผา จะเห็นว่าเครื่องปั้นดินเผามีอรรถประโยชน์มากขึ้น นั่นคือ สามารถสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น ฉะนั้น การนำดินเหนียวมาทำเป็นเครื่องปั้นดินเผาจึงเป็นการผลิตรูปแบบหนึ่ง นอกจากการผลิตสินค้าที่มีตัวตนแล้ว ในทางเศรษฐศาสตร์การผลิตยังหมายถึง การผลิตสินค้าที่ไม่มีตัวตนหรือที่เราเรียกว่าบริการ (service) อีกด้วย เช่น การสอนของครู การนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ การรักษาของหมอ การว่าความของทนายความ การเล่นดนตรีของนักดนตรี การบริการของคนขับรถแท็กซี่ ถือเป็นการผลิตบริการทั้งสิ้น เป็นต้น
           โดยปกติการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำได้หลายวิธี โดยใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป แต่ผู้ผลิตจะต้องเลือกวิธีการผลิตที่ดีที่สุด โดยมีหลักการว่า เลือกวิธีการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุดเพราะจะทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดแต่ให้ได้รับผลผลิตมากที่สุด





รูปที่ 3.1 กระบวนการผลิต
             จากรูป สมมติว่าเป็นการผลิตผ้าฝ้ายของโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่ง สิ่งที่เราใช้เป็นปัจจัยการผลิตคือ ที่ดินซึ่งจะเป็นที่ตั้งของโรงงาน แรงงานคน ทุน (เครื่องปั้นด้าย เครื่องทอผ้า) วัตถุดิบก็คือ ใยฝ้าย หน่วยการผลิต คือ โรงงานทอผ้า ซึ่งจะมีเจ้าของหรือผู้จัดการโรงงานทอผ้าเป็นผู้ดำเนินการผลิต สิ่งที่ผลิตออกมาคือ ผ้าฝ้าย
3.2 การสร้างอรรถประโยชน์
       โดยทั่วไปการผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์ (utility) ให้แก่สินค้าและบริการซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะหนึ่งใน 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
          3.2.1 อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูป (form utility) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมและทำให้สนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เช่น เปลี่ยนแป้งเป็นขนมปัง เปลี่ยนไม้เป็นโต๊ะ เปลี่ยนเหล็กเป็นรถยนต์ เป็นต้น

             3.2.2 อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานที่ (place utility) หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เช่น การนำไม้จากป่ามาในกรุงเทพฯ การขนส่งเงาะโรงเรียนจากสุราษฎร์ธานีมาในกรุงเทพฯ การขนส่งสินค้าไปยังร้านขายส่งและร้านขายปลีก เป็นต้น
              3.2.3 อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนเวลา (time utility) หมายถึง การเก็บสินค้าไว้จนกว่าจะมีผู้ต้องการ เช่น พ่อค้าขายส่งเก็บสินค้าไว้ในโกดัง เมื่อเห็นว่าสินค้าขาดตลาด ราคาสูงขึ้นจึงนำสินค้าออกขายหรือการเก็บเหล้าผลไม้ (ไวน์) ไว้นานๆ จนรถชาติดีและเป็นที่ต้องการมากขึ้น
               3.2.4 อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ (possession utility) หมายถึง การทำให้ทรัพย์สินเปลี่ยนมือจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง เช่น นายหน้าติดต่อซื้อขายบ้านและที่ดินจนกระทั่งมีการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์จากอีกคนไปยังอีกคนหนึ่ง การกระทำของนายหน้าจึงเป็นการผลิต
               3.2.5 อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการให้บริการ (service utility) เป็นการสร้างอรรถประโยชน์ที่มองไม่เห็นรูปร่าง เช่น การให้คำปรึกษาของทนายความ การเดินทางโดยใช้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การบริการช่างแต่งผมให้แก่ลูกค้า บริการซ่อมรถยนต์ของช่าง ความเพลิดเพลินที่ผู้ฟังได้รับจากนักร้อง ฯลฯ
3.3 ปัจจัยการผลิต (factors of production)
               ปัจจัยการผลิต หมายถึง องค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิตแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ทุน และการประกอบการ (ได้กล่าวไปแล้วในหน่อยที่1)
3.4 การผลิตขนาดใหญ่ (mass production)
             การผลิตขนาดใหญ่ เป็นการผลิตที่ต้องใช้เครื่องจักร เครื่องทุนแรง การจัดและวิทยาการทันสมัย (technology) เช้าช่วย เพื่อผลิตสินค้าให้ได้คราวล่ะมากๆ สนองตอบความต้องการของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น สินค้าที่ผลิตได้มีราคาถูกเพราะการผลิตขนาดใหญ่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เช่น เมื่อซื้อวัตถุดิบคราวล่ะมากๆ ก็จะซื้อได้ในราคาต่ำ การผลิตโดยใช้เครื่องจักรทำให้ผลิตสินค้าได้ตลอดเวลา ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่อยต่ำ เป็นต้น
              การใช้เครื่องจักรทันสมัยจะทำให้ผลิตสินค้าได้ตลอดทั้งวัน โดยคุณภาพของสินค้าแต่ล่ะชิ้นเท่าเทียมกันนอกจากนี้ การผลิตขนาดใหญ่ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ซึ่งหมายถึง การแบ่งการผลิตออกเป็นขั้นตอน แล้วกระจายงานแต่ล่ะขั้นตอนให้คนงานแต่ล่ะกลุ่มทำตามความถนัด การแบ่งงานกันทำจะช่วยให้เกิดความชำนาญในการผลิตเฉพาะอย่าง (specialization) เพราะผู้ทำงานหน้าที่นั้น ๆ ซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน จนเกิดความชำนาญจะทำงานได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้ผลผลิตที่ได้รับมากขึ้นด้วย
              การผลิตยิ่งมีขนาดมากขึ้นเท่าใด ยิ่งจำเป็นต้องแบ่งงานออกไปให้มาก เรื่องนี้ได้มีการกล่าวถึงโดย อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งเขาเปรียบเทียบว่า ถ้ามีคนงาน 50 คน ให้คนงานแต่ล่ะคนทำเข็มตั้งแต่ต้นจนเสร็จ วันหนึ่งจะทำได้เพียง 2 โหล แต่ถ้าให้คน 50 คน แบ่งงานกันทำโดยแบ่งงานออกเป็นแผนก ๆ เช่น ดึงลวดมาตัด ฝนปลายเข็ม เจาะรูสำหรับรอยด้าย และนับเข็มบรรจุกล่อง คนหนึ่ง ๆ จะทำงานเดิมซ้ำ ๆ กัน จนเกิดความชำนาญขึ้น จะสามารถผลิตเข็มได้ถึงวันล่ะ 20 โหล
3.5 ลำดับขั้นในการผลิต
           สินค้าและบริการที่ผลิตได้ สามารถเรียงลำดับก่อนหลังในการผลิตได้ ดังนี้
           3.5.1 การผลิตขั้นประถม (primary production) หมายถึง การผลิตที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การผลิตทางด้านการเกษตร เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ การประมง การทำนาเกลือ เป็นต้น การผลิตในประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการผลิตขั้นประถม
           3.5.2 การผลิตขั้นมัธยม (secondary production) หมายถึง การผลิตที่นำเอาผลผลิตที่ได้จากการผลิตขั้นประถมมาผลิตอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น การนำยางพารามาทำเป็นยางรถยนต์ การนำสับปะรดมาทำเป็นสับปะรดกระป๋อง การนำไม้มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
           3.5.3 การผลิตขั้นอุดม (tertiary production) การผลิตในขั้นนี้เป็นการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการบบริการทางสุขภาพ การขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก การเงิน การธนาคาร การท่องเที่ยว การประกันภัย ฯลฯ การผลิตในขั้นนี้เป็นหน้าที่ของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นการผลิตที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับการผลิตขั้นอื่น ๆ เพราะช่วยให้ผลผลิตไปถึงมือผู้บริโภคโดยเร็ว การผลิตที่พัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตขั้นอุดม
3.6 ประเภทของการผลิต
         สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรีได้แบ่งการผลิตในประเทศไทยออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้
1.       การเกษตรกรรม แบ่งเป็นพืชผล ปศุสัตว์ ป่าไม้ ประมงและการบริการทางการเกษตร
2.       การเมืองแร่และย่อยหิน
3.       การอุตสาหกรรม
4.       การก่อสร้าง
5.       การไฟฟ้าและการประปา
6.       การขนส่งและการคมนาคม
7.       การค้าส่งและค้าปลีก
8.       การธนาคาร การประกันภัย
9.       ที่อยู่อาศัย
10.   การบริหารราชการและป้องกันประเทศ
11.   การบริการ
        นักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดของการแบ่งประเภทการผลิตและมูลค่าของการผลิตในแต่ละประเภทในหน่วยที่ 9 เรื่องรายได้ประชาชาติ
3.6 หน่วยการผลิต (firm)
         หน่วยการผลิต หมายถึง ผู้ที่ประกอบกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการรวมทั้งการขนส่ง การจำหน่ายเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค หน่วยการผลิตมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หน่วยการผลิตหลาย ๆ หน่วยที่ผลิตสินค้าและบริการอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันรวมกันเรียกว่า อุตสาหกรรม(industry) เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ประกอบด้วยหน่วยการผลิตทำยางรถยนต์ ทำตัวถังรถยนต์ ทำเบาะ ทำอุปกรณ์ตกแต่ง ทำสีรถยนต์ จำหน่ายรถยนต์ เป็นต้น โดยทั่วไปจะจำแนกหน่วยธุรกิจตามลักษณะของการประกอบได้ 5 ประเภท ดังนี้
        3.7.1 เจ้าของคนเดียว (single proprietorship) หน่วยการผลิตแบบนี้มีบุคคลคนเดียวหรือคนใกล้ชิดกันเป็นเจ้าของในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องรับผิดชอบทุกอย่าง และยอมรับการเสี่ยงต่อการขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว ในประเทศไทยหน่วยการผลิตแบบนี้เป็นที่แพร่หลายและมีจำนวนมากกว่าหน่วยการผลิตแบบอื่น ๆ เช่น การทำเกษตรกรรม ร้านขายอาหาร ร้านขายของชำ เป็นต้น
                 ข้อดีและข้อเสียของหน่วยการผลิตแบบเจ้าของคนเดียว
           1) ข้อดี สามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
      2) ข้อเสีย ธุรกิจมักมีขนาดเล็ก เนื่องจากมีความสามารถและเงินทุนจำกัด กิจการทำได้ยากเพราะขาดหลักประกันในการกู้ยืม
         3.7.2 ห้างหุ้นส่วน (partnership) เป็นหน่วยการผลิตซึ่งมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันดำเนินธุรกิจ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสัญญาที่จะออกทุนตามจำนวนที่ตกลงกัน เมื่อมีกำไรหรือขาดทุนก็แบ่งกันตามข้อตกลง
               

         ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1)      ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน
2)      ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ถือหุ้น แบ่งออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงในหุ้นส่วน อีกพวกหนึ่งรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน
        ข้อดีและข้อเสียของหน่วยการผลิตแบบห้างหุ้นส่วน
1)      ข้อดี มีทุนค่อนข้างมาก ขยายกิจการได้สะดวก รับผิดชอบเสี่ยงภัยในธุรกิจเฉลี่ยไปตามหุ้นส่วน

2)      ข้อเสีย การดำเนินงานอาจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ เพราะนโยบายต่างๆ จะต้องให้หุ้นส่วนเห็นชอบด้วย      
        3.7.3 บริษัทจำกัด (corporation) เป็นหน่วยการผลิตที่ตั้งเพื่อร่วมลงทุนตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่ ผู้ถือหุ้น 1 หุ้น มีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง หน่วยการผลิตแบบนี้ได้รับความนิยมมากในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เป็นต้น   

        3.7.4 สหกรณ์ (cooperative) เป็นองค์กรธุรกิจรูปแบบหนึ่งซึ่งสมาชิกผู้มีความเดือดร้อนในเรื่องคล้าย ๆ กัน ร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันขจัดความเดือดร้อนของสมาชิก และส่งเสริมให้สมาชิกมีฐานะดีขึ้น โดยสหกรณ์มีสภาพเป็นนิติบุคคล
           สหกรณ์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1)      สหกรณ์การเกษตร
2)      สหกรณ์นิคม
3)      สหกรณ์ประมง
4)      สหกรณ์ออมทรัพย์
5)      สหกรณ์ร้านค้า
6)      สหกรณ์บริการ
7)      สหกรณ์เครดิตยูเนียน


        3.7.8 รัฐวิสาหกิจ (government enterprise) คือ หน่วยการผลิตที่มีการดำเนินงานในลักษณะขององค์การขององค์รัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ และยังรวมถึงการดำเนินงานในรูปของบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น ธนาคารกรุงไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การไฟฟ้านครหลวง ฯลฯ โดยทั่วไปนิยมเรียกสินค้าและบริการที่ผลิตโดยรัฐวิสาหกิจว่า สาธารณูปโภค